การจัดการความรู้การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • กฤติยา รุจิโชค -

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การบริหารจัดการความรู้ , เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมชาวนาในการผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดีและต้นทุนต่ำด้วยการจัดทำโครงสร้างข้อมูลที่ผ่านการจัดการข้อมูล 2) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมชาวนาในการผลิตข้าวอย่างมีประสิทธิภาพได้ผลผลิตสูงคุณภาพดีและต้นทุนต่ำมาสร้างเนื้อหาและผลิตสื่อให้เข้าใจง่ายผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3) เพื่อพัฒนาระบบส่งผ่านข้อมูลความรู้การผลิตข้าวด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี และ 4) เพื่อนำระบบส่งผ่านข้อมูลความรู้การผลิตข้าวด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีไปใช้พัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสู่เกษตรกรที่ทำให้เกษตรกรพร้อมรับมือในสถานการณ์เร่งด่วน ใช้แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้ การบริหารจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกร 3 พื้นที่ จำนวน 90 คนใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ วิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในการผลิตข้าวที่ช่วยพัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน โดยชุดความรู้ที่ได้มี 6 ชุดคือ ชุดที่ 1) ความรู้พื้นฐานการปลูกข้าว ชุดที่ 2) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว ชุดที่ 3) วิกฤติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าว ชุดที่ 4) เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกข้าว ชุดที่ 5) การเพิ่มมูลค่าให้กับข้าว และ ชุดที่ 6) การตลาดและการประชาสัมพันธ์ โดยชุดความรู้จะถูกใส่ไว้ใน แอบพลิเคชั่น การจัดการความรู้การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ฯและเฟสบุ๊ค รวมทั้งระบบถาม-ตอบ (AI-chatbot) และคู่มือการปลูกข้าว (E-book) ทั้งนี้ชุดความรู้จะช่วยพัฒนาการปลูกข้าวของเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน

References

Ackerman, M.S. (1996) Definitional and Contextual Issues in Organizational and Group Memories, Information Technology and People Vol 9, no 1, pp. 10-24.

Akhavan, P., Jafari, M., and Fathian, M. (2005), 'Exploring Failure-Factors of Implementing Knowledge Management Systems in Organizations', Journal of Knowledge Management Practice, [electronic], vol. 6, May, pp. 1-8, Available: http://www.tlainc.com/jkmpv6.htm

Allee, V. (1997) The Knowledge Evolution: Expanding Organizational Intelligence. Butterworth-Heinemann, Oxford.

Botha A, Kourie D, & Snyman R, (2008), Coping with Continuous Change in the Business Environment, Knowledge Management and Knowledge Management Technology, Chandice Publishing Ltd.

Chan, J.O. (December 1, 2009), Integrating knowledge management and relationship management in an enterprise environment, Communications of the IIMA

Ekinge, R., Lennartsson, B. (September 24-27, 2000), Organizational Knowledge as a Basis for the Management of Development Projects, Accepted to Discovering Connections: A Renaissance Through Systems Learning Conference, Dearborn, Michigan,

, Leading Issues in Social Knowledge Management (pp. 88 – 105). Academic Publishing International Limited.

Ketsuda Sittisantikul. (2015). Knowledge Management for Determining Alternatives for Farmers' Rice Planting in Drought Areas. A case study of farmers in Ontai sub-district San Kamphaeng District Chiang Mai Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Vol. 6, No. 1. (January-June 2015 ).

Gardner, J. R. Changing and Organizational Culture. Cognitive Behaviour, retrieved February 2011 from www.cognitivebehavior.com/management/concepts/changing_org_culture.html

Gurteen, D. (2012), "Introduction to Leading Issues in Social Knowledge Management – A brief and personal history of Knowledge

Skyrme, D. (2011b), 'Definition', [Online], Available at:

Zoerman K.W., (2008), Cross-Functional Efficiency, Retrieved 6 June 2012 from http://www.zoerman.com/cfe.pdf

http://www.untagsmd.ac.id/files/Perpustakaan_Digital_2/ORGANIZATIONAL%20CULTURE%20Organizational%20Culture%20and%20Leadership,%203rd%20Edition.pdf.

https://www.isranews.org/content-page/item/22866.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

How to Cite

รุจิโชค ก. (2022). การจัดการความรู้การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 231–242. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/258918

ฉบับ

บท

บทความวิจัย