การบริหารด้านการเงินส่วนบุคคล เพื่อวัยเกษียณอายุบุคลากรสายวิชาการ ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ด้วยนวัตกรรมด้านการเงิน จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์

นวัตกรรมด้านการเงิน, การบริหารด้านการเงินส่วนบุคคล, การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์

ผู้แต่ง

  • สุมนา พูลผล -

คำสำคัญ:

นวัตกรรมด้านการเงิน, การบริหารด้านการเงินส่วนบุคคล, การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

การบริหารด้านการเงินส่วนบุคคล เพื่อวัยเกษียณอายุ บุคลากรสายวิชาการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา ด้วยนวัตกรรมด้านการเงิน จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารด้านการเงิน เพื่อวัยเกษียณของข้าราชการ บุคลากรสายวิชาการ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา และเพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจเลือกการบริหารด้านการเงิน เพื่อวัยเกษียณของข้าราชการ บุคลากรสายวิชาการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ การศึกษาครั้งนี้จํากัดขอบเขตการศึกษาด้านประชากร โดยจะทำการศึกษาการบริหารด้านการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายของข้าราชการ บุคลากรสายวิชาการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่เป็นข้าราชการ ในตำแหน่งอาจารย์โดยจำนวน 379 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรโดยวิธีของ Krejcie และ Morgan (1970) ได้ 190 ตัวอย่าง เพื่อให้กลุ่มประชากรดังกล่าวเป็นผู้ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

          ผลการวิจัยปรากฏว่า ภายใต้สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลด้วยนวัตกรรมด้านการเงิน (FinTech)  พบว่า ไม่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ใดที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับหรือน้อยกว่า 0.05  และการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีข้อมูลมากกว่า 2 กลุ่ม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน กับระดับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลด้วยนวัตกรรมทางการเงิน พบว่า ไม่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ใดที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับหรือน้อยกว่า 0.05

สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยด้านความรู้การวางแผนทางการเงิน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลด้วยนวัตกรรมด้านการเงิน (FinTech) พบว่า มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 จึงถือว่าปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน โดยมีค่าความสัมพันธ์ (r) ที่ 0.558 ถือว่ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และเป็นความสัมพันธ์ทางบวก

สมมติฐานที่ 3    ปัจจัยความรู้การวางแผนการเงิน ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตัดสินใจการวางแผนการเงินส่วนบุคคลด้วยนวัตกรรมด้านการเงิน (FinTech) พบว่า มีตัวแปรต้น (X) 5 ตัวที่มีผลต่อสมการพยากรณ์พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ด้วยนวัตกรรมด้านการเงิน (FinTech)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). ยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมเพื่อนำประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูง. Journal of Business, Economics and Communications. (หน้า 6-21).

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2552). การวิเคราะห์ Logistic Regression. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (หน้า 2-7).

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2556). ปัจจัยเชิงสาเกตุที่มีอิทธิต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. งานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (หน้า25-28).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). GDP ไตรมาสที่สอง ปี 2560 และแนวโน้มปี 2560. เอกสารผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP).

สำนักงานสถิติแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2556: แบบสำรวจธนาคารแห่งประเทศไทย ปฏิบัติงานสนามเดือนมกราคม -มีนาคม 2556. แบบสำรวจธนาคารแห่งประเทศไทย ปฏิบัติงานสนามเดือนมกราคม - มีนาคม 2556. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Arner, D. W., Barberis, J., and Buckley, R. P. (2015). The evolution of Fintech: A new post-crisis paradigm. Geo. J. Int'l L., 47, 1271.

Bhutta, Z. A., Ahmed, T., Black, R. E., Cousens, S., Dewey, K., Giugliani, E. and Shekar, M. (2008). What works? Interventions for maternal and child undernutrition and survival. The lancet, 371(9610), 417-440.

Chuan, C. L., and Penyelidikan, J. (2006). Sample size estimation using Krejcie and Morgan and Cohen statistical power analysis: A comparison. Jurnal Penyelidikan IPBL, 7(1), 78-86.

Delafrooz, N., Paim, L., Sabri, M. F., and Masud, J. (2010). Effects of financial wellness on the relationship between financial problem and workplace productivity. World applied sciences journal, 10(8), 871-878.

Ezra, D., Collie, B., and Smith, M. X. (2009). The Retirement Plan Solution. The Reinvention of Defined Contribution (Vol. 489). John Wiley & Sons.

Menard, S. (2002). Applied logistic regression analysis. (Vol. 106). Sage.

Neil Howe, William Strauss and Millennials Rising. (2000). The Next Great Generation, 4th ed. (Vintage Books A Division of Random House, Inc. New York, 2000). 60-65.

Philippon, T. (2016). The fintech opportunity (No. w22476). National Bureau of Economic Research.

Peter Drucker. (1993). Practice of Management, 10th ed. (HarperCollins Publishers, Inc., 1993), 121-136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย