รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย สมอเนื้อ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการความขัดแย้ง, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับระดับความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง และรูปแบบการจัดการความขัดแย้ง เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 380 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลด้านข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ในขณะที่ระดับความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลด้านโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) ระดับของความขัดแย้ง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแนวทางการจัดการความขัดแย้งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง 0.722 – 0.775 3) รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากความขัดแย้งด้านบุคลากรส่วนใหญ่ใช้วิธีการประนีประนอม ร้อยละ 40.39 ด้านการเงินส่วนใหญ่ใช้วิธีการใช้อำนาจวินิจฉัยร้อยละ 42.81 ด้านวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการใช้อำนาจวินิจฉัยร้อยละ 45.53 ด้านการจัดการส่วนใหญ่ใช้วิธีการประนีประนอมร้อยละ 36.84

References

Akaravorn, J and Akaravorn, P. (2009). Public administration in a network format. Bangkok: Kor. Phon Print Printing House.

Chankaew, C. (2007). Conflict Management of the President of Sub-District Administrative Organization in Suphanburi Province. Independent study, Master of Public Administration degree. Department of Local Government. Khon Kaen: College of Local Administration Khon Kaen University.

Chittasathien, S. (2007). Conflict Management in Provincial Health Infirmaries : A Case Study of Phitsanulok Provincial Health Infirmaries. Doctor of Philosophy Thesis. Graduate School : Ramkhamhaeng University.

Katherine, M. (2004). Conflict Management and Apology. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.

Maneethorn, E. (2009). The bureaucracy, state enterprises and public organizations of Thailand. Bangkok : MT Press Company.

Mekthup, N. (2007). Conflict of Community Leaders : A Case Study in Dan Mae Khamman Sub-district, Laplae District, Uttaradit Province. Independent study, Master of Public Administration degree. College of Local Administration : Khon Kaen University.

Office of the Public Sector Development Commission. (2008). The Strategic Plan for the Development of the Thai Government System (2008-2012). Bangkok: Mission to disseminate and support participation in the development of the civil service system. Office of the Public Sector Development Commission.

Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. basic information for each district. [online]. source: https://ww2.ayutthaya.go.th/amphur_content. [25 March 2065].

Phuangngam, K. (2006). Subdistrict Administrative Organization in a new paradigm. Develop and build networks and strengthen them. Bangkok: Wiyuchon.

Thienthong, A. (2001). Strategies for solving conflicts and satisfaction of personnel in secondary schools. Western region. Master of Education Thesis. Graduate School : Silpakorn University.

Wattanasap, W. (2004). Conflict: Principles and Problem Solving Tools. Bangkok : Center for Peace and Governance.

Wutthisarnsakul, W. (2010). Conflict Management in Organizations. Research report. Nakhon Ratchasima: Ramkhamhaeng University.

Yosyingyong, K. (2009). Organization of innovation, concepts and processes. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

How to Cite

สมอเนื้อ ธ. (2022). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 204–216. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/258643

ฉบับ

บท

บทความวิจัย