การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • นรา บรรลิขิตกุล, บุญทัน ดอกไธสง, สุรพล สุยะพรหม

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การบริหารสวัสดิการ, แรงงานต่างด้าว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าว 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าว 3. นำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร จุดแข็ง คือเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย จุดอ่อน คือนายจ้างต้องคอยบริหารจัดการเรื่องแรงงานที่ครบอายุตามสัญญา 2 ปี โอกาส คือแรงงานต่างด้าวมีความมั่นคงในการเป็นอยู่ และอุปสรรค คือขั้นตอนการนำแรงงานเข้ามาทำงานมีความซับซ้อน กลายเป็นช่องทางของระบบนายหน้า 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ จัดระบบแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่แรงงานถูกกฎหมาย ตั้งหน่วยควบคุมดูแล เน้นหลักสิทธิมนุษยชน สร้างความเข้าใจเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3. รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร ได้ประยุกต์หลักหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วย ทาน (โอบอ้อมอารี) ได้แก่ ให้สวัสดิการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ปิยวาจา (วจีไพเราะ) ได้แก่ สื่อสารด้วยความจริงใจ อัตถจริยา (สงเคราะห์ผู้คน) ได้แก่ ปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวเท่าเทียมกับคนไทย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และสมานัตตตา (วางตนสม่ำเสมอ) ได้แก่ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน

References

Anin, P. (2018). “Foreign Workers: Administration and Management in Thailand”, Journal of Management Arts, Vol. 2, No. 2 (May-August 2018): 117.

Baunerd, S. (2017). “Management of foreign workers of seafood processing enterprises in Muang district Samut Sakhon Province”. Master of Business Administration Program Silpakorn University. Journal of Humanities, Social Sciences and Arts. Year 10. Issue 1 (January–April 2017): 1376-1377.

Chiwakriengkrai, A. (2017). Economic endoscopy. Bangkok: Bangkok Business.

Chubanjong, P. (2011). “Study of the quality of life of migrant workers in Muang District Samut Sakhon Province". Doctor of Arts degree program Major in Business Management. Graduate School: Silpakorn University.

Industrial office. (2019). Industry in Samut Sakhon Province. Samut Sakhon: Policy and Planning Group.

Kanchanadit, B. (2015). Looking back on the situation of migrant workers in 2015. Bangkok: Rathasaphasar.

Nilarun, P. and Jesadalak, W. (2014). “A study of the influence of foreign labor management potential on the effectiveness of human resource management and the performance of entrepreneurs in Ranong Province”. Thammasat Journal, Vol. 33, No. 3 (September-December 2014): 19.

Phakamas, P. and team. (2019). “Guidelines for the management of migrant workers in the eastern region of Thailand”. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao. Year 7, Issue 2 (July-December 2019).

Phra Brahmakunaphorn (P.A. Payutto). (2013). Buddhist dictionary The 34th Dharma Code. Bangkok : Foundation for Education for Peace.

Phromwan, M. (2019). “Effective Model for Management of Migrant Workers in Chiang Mai Province”. Doctor of Philosophy Department of Public Administration. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sasing, N and Phothikul, A. (2016). “Management of Illegal Foreign Workers Problems According to Government Policies in Samut Sakhon Province”. Doctor of Philosophy Department of Public Administration. Faculty of Political Science: Bangkokthonburi University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย