การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายแรงงานของประเทศไทยเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน

ผู้แต่ง

  • หทัยกาญจน์ ทวีทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรณาชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Keywords: Labor; Management; Technological changes; Digital technology

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะแนวทาง แนวนโยบาย รวมไปถึงปัญหาอุปสรรค และผลลัพธ์ที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการจัดการด้านแรงงานของประเทศไทยอันนำไปสู่การจัดทำแผนรองรับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และ การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้บริหารที่ทำการปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการแรงงานจำนวน 8 คน โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความหมายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายแรงงานของประเทศไทยเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรู้ความสามารถ: การร่วมมือกันทุกภาคส่วนและการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนการจัดทำระบบการสนับสนุนให้แรงงานพัฒนาฝีมือให้มีความหลากหลายช่วยเพิ่มความรู้ความสามารถให้แรงงาน  2.ด้านเทคโนโลยี: การสนับสนุนให้เกิดการใช้งานระบบดิจิทัลและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในการใช้งาน AI ตลอดจนการวิเคราะห์ฐานข้อมูลแบบเชิงลึกที่ใช้งานได้จริง และพัฒนาการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการตอบสนองต่อตลาดแรงงาน  3.ด้านการตอบสนองต่อตลาดแรงงาน: ควรมีระบบที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในแรงงานผู้สูงอายุ และการบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมถึงสิทธิแรงงานและสวัสดิการแรงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อแรงงานไทยในต่างประเทศหรือแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย แนวทางแก้ไขปัญหาคือ การส่งเสริมการศึกษาแบบเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานและการจัดทำนโยบายสวัสดิการแรงงานที่ทันต่อยุคสมัย

References

Chancharoen, B. (1999). Readiness of administration of Wastewater Treatment System's Manager in Community Hospital. Doctor of Science in Management, Law, Medicine and Public Health. Mahidol University.

Cronbach, L. (1970). Essential of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downing, J., & Thackray, D. V. (1971). Reading Readiness. London: University of London.

Goulet, D. (1973). The Cruel Choice: A New Concept in the Theory of Development. New York: Atheneum Press.

Khampanya, S. (2012). Ministry of Labor and preparations to support the movement of skilled labor. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Labor.

Labor Economy Division, Ministry of Labor. (2018). Analysis Study Report Labor Database and Labor Demand Estimate of Target Industries in the Eastern Economic Corridor (EEC). Bangkok: Ministry of Labor.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than for Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1–14.

McKechnie, R. J. (1966). California Inland Angling Survey for 1964. Calif Dep. Fish Game, 52(4), 293-299.

National Defense College. (2017). The 20-Year National Strategy 2018-2037 (Public edition). Bangkok. National Defense College.

Patton, M. Q. (1980). Qualitative evaluation methods. Beverly Hills, CA: Sage. Research Administration and Educational Quality Assurance Division, Knowledge Management

Institution. (2016). Blueprint and action plan for Thailand 4.0, driving model for Thailand 4.0 Model to Bring Security, Wealth and Stability to Thailand. Retrieved from

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-draeqa-blueprint.pdf

Rujisawaeng, P. (2012). Educational Preparation for ASEAN: A case study of Faculty of Economics, Chiang Mai University (Research report). Faculty of Economics: Chiang Mai University.

Skinner, B. F. (1965). Science and Human Behavior. New York: Free Press.

Sumonka, N. (2011). Factors affecting readiness of accounting personnel for ASEAN Economic Community: a case study of business organizations in Saraburi province. Independent Study, Master of Business Administration. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Teeratrakul, B. et al. (2010). Employment Promotion for Elderly Worker in Thailand. Bangkok: Ministry of Labor.

Thongsangworn, K. (1997). Readiness of Sub-District Administrative Organization Executive Committee to manage local natural resources in Udon Thani Province. Master of Education Thesis, Department of Environmental. Mahidol University.

Todaro, M. P. (1994). Economic development (5th ed.). New York: Longman.

Watcharophas, B. (2002). Preparation for the Sub-District Administrative Organization (SAO) in providing Internet services in Chonburi Province. Master of Public Administration. Burapha University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

ทวีทอง ห. (2023). การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายแรงงานของประเทศไทยเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 110–121. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/258632

ฉบับ

บท

บทความวิจัย