ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมือง ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูศรีรัตนาภิวัฒน์ (ทวี พลายแก้ว) มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหาร, ธรรมาภิบาล, เทศบาลเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วม การสื่อสาร และแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาล 399 คน คัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยการสุ่มแบบง่ายและสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          1) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.90) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( = 3.03) ด้านการกระตุ้นทางสติปัญญา ( = 2.95) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( = 2.84) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล( = 2.80) 2)การมีส่วนร่วม ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.82) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ( = 2.86) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 2.85) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 2.79) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ( = 2.79) และการสื่อสาร ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.89) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผู้รับ ( = 3.04) ด้านข้อมูลข่าวสาร ( = 2.92) ด้านผู้ส่ง ( = 2.81) ด้านช่องทางในการส่ง( = 2.78) และหลักธรรมาภิบาล ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.58) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด มากและปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านคุณธรรม ( = 4.24) ด้านความรับผิดชอบ ( = 4.17) ด้านนิติธรรม( = 3.73) ด้านความคุ้มค่า  ( = 3.44) ด้านความโปร่งใส ( = 3.00)        

References

Kunnapadol, T. (2010). Leadership development to strengthen people's participation in local development. Rajanagarindra Rajabhat University: Chachoengsao.

Lekakul, K. (2018). Good governance and organizational culture that affect the organizational effectiveness of municipalities in the southern region of Thailand. Doctor of Public Administration. Department of Public and Private Sector Management. Hat Yai University.

Menasut, K. and team. (2003). Local Administrative Organizations and Management Based on Good Governance. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Ratanasermphong, R. (2007). Public administration. 4th printing. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Yaowalak, P. (2016). Good governance of subdistrict administrative organizations. Mueang Suphan Buri District Suphanburi Province. Western University Research Journal Humanities and social sciences.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย