ประสิทธิผลการลดปัญหาอาชญากรรม โครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาประกอบ จุ้ยเย็น มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การลดปัญหาอาชญากรรม, โครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม และแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิผลองค์การเชิงบุรณาการ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          1) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดราชบุรี (ด้านการบริหาร) โดยรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า องค์ประกอบการบริหารงานด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.13 รองลงมา การวินิจฉัยสั่งการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ในขณะที่ด้านการประสานงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.00

2) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดราชบุรี โดยรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 รองลงมา ด้านการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ในขณะด้านการปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 3.84

3) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการลดปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยรวม อยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการภายในอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 รองลงมา คือ ด้านระบบเปิดอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 ในขณะที่ด้านมนุษยสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 4.00   

References

Ketuwongsa,K. (2010). The impact of organizational characteristics on the risk management efficiency of higher education institutions in Thailand. Master of Accounting Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Branchakorn, C. and faculty. (2011). Internal audit and internal control. Bangkok: Right.

Pokkaew, T. (2013). Management Strategies by 7 S McKinsey Model Affecting Management Process. of Ban Dong Subdistrict Administrative Organization, Mae Moh District, Lampang Province. Master's degree thesis. Nation University. Lampang Province

Sudcharn, T. (2004). Organization theory, conceptual analysis. Theory and application. 2nd edition. Ubon Ratchathani province.

Meksawan, T. (1995). Promoting efficiency in government agencies. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Jongwutthiwet, N. (1984). People's participation in development. Bangkok: Mahidol University Press.

Tansenee, P. (2010). 7' S Model 23 Nov. 2009 . 7. Style of management. Behavioral patterns in the performance of executives are one of the important components of the internal environment of the organization. [online] source http://www.drpracha.com/

Wattanasin, P. (2002). Strategic management and business policy. 4th printing. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Sungrung, P. (2007). Human relations in the organization. 10th edition. Bangkok: BK Inter Print.

Tain ,R. (2008). Factors contributing to the management success of local government organizations that have received good management awards. Case study of Don Kaeo Subdistrict Administrative Organization, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Master of Public Administration Thesis. Department of Public Administration. Graduate School Chiang Mai University.

Naweekarn, S. (2006). Management and organizational behavior. Bangkok : Manager.

Choobumrung, A. (1989). Criminology and crime. Bangkok: Department of Political Science and Public Administration, Faculty of Social Sciences, Kasetsart University.

Nimnoi, S. (1979). Criminology and penology. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Nations, U. Department of Economic and Social Affairs United Nations. (1976). A handbook of public administration : current concepts and practice with special reference to devel. New York : United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย