รูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้กลยุทธ์ทางโหราศาสตร์ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, กลยุทธ์, โหราศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับดวงชะตา พฤติกรรมในทางจิตวิทยา และแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) ผู้สูงอายุในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีคุณภาพชีวิตโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตด้านสภาพอารมณ์ที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการพัฒนาตัวเอง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 2) ผู้สูงอายุในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีความเชื่อเรื่องดวงชะตา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านดวงชะตาขึ้นอยู่กับความเพียรพยายามอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 รองลงมา ด้านดวงชะตาขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรม และด้านดวงชะตาขึ้นอยู่กับกฎ แห่งกรรมและกาลเวลา ผสมผสานกัน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านดวงชะตาขึ้นอยู่กับกาลเวลา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11
References
เขมชาติ ปริญญานุสรณ์. (2543). รูปแบบการพยากรณ์ไพ่ยิปซีลายไทยเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 15 (1), 67-78.
ยลดา มณเฑียรมณี. (2538). หมอดู: ทางเลือกสำหรับความมั่นคงทางจิตใจ. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
ซิเซโร. (2534). โหราศาสตร์ไทย: วิทยาการแห่งความอัปยศ. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการ.
ณฤดี วิวัชภูรี. (2554). การศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์ และหลักศรัทธา 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณรราชวิทยาลัย.
ดารุเรศ กาศโอสถ. (2542). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับความรู้และทัศนคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อมหาวิทยาลัยรังสิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล. (2535). หมอดู : กระบวนการสร้างตัวตนและความสัมพันธ์ทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Schalock, L. R. 2004. “The concept of quality of life: what we know and do not know”. Journal of Intellectual Disability Research. 48, 3: 203-390.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.