ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของโรงเรียนรัฐบาลในเขต อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูปฐมชยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ, การบริหารงาน, โรงเรียนรัฐบาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับระดับความสำเร็จในการบริหารงานของโรงเรียนรัฐบาล และแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของโรงเรียนรัฐบาลเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่อยู่ในพื้นที่โรงเรียนรัฐบาลเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 399 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของโรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.99 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.06 รองลงมา ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 4.05 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 3.94
ความสำเร็จในการบริหารงานของโรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดี 4.04 รองลงมา ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ 4.03 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 3.98
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงาน ของโรงเรียนรัฐบาลกับความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนรัฐบาล ตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรเกณฑ์ (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 6 ค่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ .830 ถึง .891

References

Paiboon Kulaak. (2010). Administrative effectiveness of school administrators. Under the jurisdiction of Sakon Nakhon Educational Service Area Office 3. Thesis, M.Ed. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.

Merinthakarn Phatthanasapphisarn (2017). Administrative Factors Affecting School Effectiveness under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office 23. Journal of Educational Administration and Leadership. Sakon Nakhon Rajabhat University Year 5, Issue 20 (2017). July - September 2017.

Wanphen Charoenphaet. (2002). A Study of Learning Organization Management Behavior of Elementary School Administrators. Under the Office of Primary Education Ban Khai District Rayong Province Master of Education Thesis Department of Educational Administration. Graduate School: Burapha University.

Somwang Phithiyanuwat (2006). Appraisal Science Methods of Value Science. 4th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Office of the Basic Education Commission. (2010). Networking and participation. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Office of the Secretariat of the Council of Education. (2005). Standards of raising children under 3 years old. Bangkok : Prikwan Graphic Co., Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย