การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ป้องจันมณีสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ความเปลี่ยนแปลง, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน  7 แห่ง จำนวน 21 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 มี 7 ด้าน คือ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์  ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการคัดเลือก ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา ด้านผลตอบแทนและผลประโยชน์อื่น  ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ  และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน  2) ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือ ระบบบริหารราชการของไทยไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง  งบประมาณ และทรัพยากรไม่เพียงพอ ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ ขาดความเป็นเอกภาพ มีการใช้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ การจ่ายค่าตอบแทนไม่เหมาะสม การประเมินผลการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับรูปแบบการทำงาน และ 3) แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ควรให้ความสำคัญในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ มีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง  มีการส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก แทนการควบคุมหรือบังคับ มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้อย่างต่อเนื่อง และสร้างความสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัว       

References

กิตติ มิลําเอียง. (2559). การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐยุคใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 131-152.

เกียรติ บุญยโพ. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 165-170.

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ถวิล คำโสภา ศักดา สถาพรวจนา และวิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 249-266.

ธนาวุฒิ คำศรีสุข และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564).ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 396- 386.

ธนิกานต์ ศรีจันทร์ และคณะ. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณี อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 182-196.

ผกากาญจน์ ปฐมาญาดา. (2564). แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21. Journal of Administrative and Management Innovation, (10)1, 1-14.

พระปลัดสมเกียรติ อํสุธโร. (2564). การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัล. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 9(1), 71-84.

รัชนก สุดใจ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และวิเชียร วิทยอุดม. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงาน

ของบุคลากรเทศบาลในพื้นที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(1), 72-83.

ศิริ ทิวะพันธ์, ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช และฉัตรชัย วณิชธนานันต์. (2562). การกํากับดูแลงานด้านทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2564). ความปกติใหม่ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจหลัง

ยุคโควิด – 19. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2),

-60.

สุกัญยา แก้วขาว. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Clark, J. J. (1957). Outline of Local Government of the United Kingdom. London: Sir Issac.

Dessler, G. (2000). Human Resource Management. 8th ed. London: Prentice-Hall.

Imanaka, Yasuyuki. 2010. Civil Service Reform in Japan. In Public Administration in East Asia: Mainland China, Japan, South Korea, Taiwan. Berman, Evan M., Moon, M. Jae. and Choi, Heungsuk. (Eds.). New York: CRC Press.

Mathis, R. L. & Jackson, J. H. (2008). Human Resource Management. (12th ed). South-Western: Thomson.

Mondy, R.W., & Noe, M. R. (2005). Human Resource Management. (9th ed.). Upper Saddle River,. New Jersey: Prentice-Hall.

Mondy, R. W., Noe, R. M., & Premeaux, S. R. (2002). Human Resource Management. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย