การประเมินผลความสำเร็จตามแผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูกิตติวิริยาภรณ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การประเมิน, , ความสำเร็จ, , การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึงการประเมินผลความสำเร็จตามแผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาในจังหวัดนนทบุรี ให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรในการวิจัย คือ พระสังฆาธิการ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จากสถิติจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 188 รูป และเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์จำนวน 15 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี ในภาพรวม มีความคิดเห็นในระดับมากมี 4.07 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านสาธารณสงเคราะห์ 4.21 รองลงมา ด้านเผยแผ่ 4.07 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสาธารณูปการ 3.97 2) จากการทดสอบสมมติฐานสามารถพยากรณ์การประเมินผลความสำเร็จตามแผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาในจังหวัดนนทบุรี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าในการทำนาย (R2) เท่ากับ .759 จึงสามารถทำทายปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการบริหารงานพระปริยัติธรรมแผนกธรรมจังหวัดนครปฐม ได้ร้อยละ 75.90 3) แนวทางในการปรับปรุงแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา พบว่า พระสังฆาธิการมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ให้บรรลุเป้าหมาย เข้าใจในองค์กรของตนเองเป็นอย่างดี หมั่นพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารกิจการคณะสงฆ์คณะสงฆ์ และองค์ประกอบในการขับเคลื่อนต้องมีความเข้าใจในองค์กรของตนเองเป็นอย่างดี โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งทีมงานเพื่อทำกิจกรรมในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับรัฐบาล และประชาชน การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ สร้างความมั่นคงด้านพระพุทธศาสนา ยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายใน พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ และมีทรัพยากรเพียงพอในการขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา

References

Klinchan S. (2016). Propagation of Buddhism: Proactive Formation and Method Development of Thai Sangha. Journal of Graduate Studies Review. 12(3) : 15 - 31.

Sangasaeng R. and Nantiyakul P. (2017). Management to promote the administration of the Sangha Region 15 according to the concept of Sangha Management. Journal of Eastern Asia University Social Sciences and Humanities Edition.

Songdi A. (2003). Concept Study and Methods of Governing the Sangha of Phra Thep Sophon (Prayoon Dhammajitto): A Case Study Monks in the Administrative Region 2. Doctor of Philosophy Thesis. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sophon T. (2005). Sangha and Religion. 3rd printing. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Printing House.

Suwattakul K. (1998). Evaluation of vocational training projects, a case study Center for women's welfare and vocational training in the central region. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย