การนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • พิชิต ทั้งพรม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การควบคุมอาคาร, เขตเมืองปริมณฑล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองปริมณฑล ( 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองปริมณฑลและ (3) ศึกษาแนวทางการนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปฏิบัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และประชาชน ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองปริมณฑล ขนาดของผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีทั้งสิ้นจำนวน 24 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์   ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบพรรณนาความ

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองปริมณฑล   ได้แก่ความไม่ชัดเจนของนโยบาย ผู้ปฏิบัติ
ขาดความรู้และความเข้าใจ ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือมีการทุจริตและประพฤติมิชอบผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ อัตรากำลังไม่เพียงพอ และการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ (2)  ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองปริมณฑลได้แก่ วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน ความสามารถของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ ทรัพยากรการดำเนินงาน ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ แรงจูงใจของผู้ปฏิบัติ การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ และความร่วมมือของประชาชน และ (3) แนวทางการนำนโยบายควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองปริมณฑล พบว่า ต้องทำงานเชิงรุก มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ต้องสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการพัฒนาตนเอง ต้องสร้างแรงจูงในการปฏิบัติงาน ได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากรอย่างเหมาะสม และควรมีการปรับปรุงกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ให้ทันสมัย และผู้บริหารควรตรวจสอบและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2558). มาตรฐานการควบคุมอาคาร. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th

ก้องเกียรติ กำศิริพิมาน. (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 14-25.

เกริกวิทย์ บุญพาสุข. (2561). ความคิดเห็นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

เชิดชาย จิตรมาศฐาน. (2556). การบังคับใช้มาตรการทางปกครอง: ศึกษากรณีการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. งานนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธมกร ทยาประศาสน์ และวรภูริ มูลสิน. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 8(2), 146-153.

ประเสริฐ อิรมยา. (2557). การศึกษาปัญหาและความคิดเห็นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุม

อาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนต้าบลหนองน้ำแดงอ้าเออปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พระครูปลัดประวิทย์ วรธมโม และคณะ. (2564). การกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 29-43.

พิมุข สุศีลสัมพันธ์ และฟ้าใสสามารถ. (2563). นโยบายของรัฐในการควบคุมอาคาร: มุมมองด้านกฎหมาย. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 49-64.

วัชรินทร์ อินทพรหม และคณะ. (2558). รูปแบบและโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ ไทยกับเวียดนาม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1),188-205.

วีระยุทธ งามจิตร. (2564). คุณสมบัติของผู้นำกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ “วารสารสหศาสตร์”, 21(1), 14-25.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร และโชติกา แก่นธิยา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 101-116.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2558). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุขุม ขยันงาน. (2554).ปัญหาการปฏิบัติตามพระราชบัญญตัคิวบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อ.คง จ.นครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสุรนารี.

สุริยศักดิ์ มังกรแก้ววิกุล และศิริวัฒน์ สิริวัฒนกุล. (2563). ปัญหาการนำนโยบายสาธารณะของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก อำเภอบาง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(2), 205-222.

อิทธิพล เนธิยคุปต์ สิงขรแก้ว. (2564). การใช้กฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายการผังเมือง สำหรับการพัฒนาเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 28-46.

Montagu, H. G. (1984). Comparative Local Government. William Brendom and Son Ltd., Great Britain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย