ประสิทธิผลของการนำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุภารัตน์ ใช่วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชูชีพ เบียดนอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล;, พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551; , การนำไปปฏิบัติ.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการนำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค และ (3) ศึกษาแนวทางการนำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 23 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปความแบบพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของการนำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่า วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความชัดเจนแต่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะกับยุคสมัย ทรัพยากรนโยบายยังจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน องค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นองค์การที่ได้รับการยอมรับในสังคม มีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติงานอย่างดีผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ดีพอ และมีความรู้สึกว่างานมีปริมาณมาก และซับซ้อนมากเกินไป มีกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่ไม่ให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะกลุ่มในกลุ่มเยาวชน (2) ปัญหาและอุปสรรคของการนำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า บทบัญญัติบางประการของ พ.ร.บ.ไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน การประชาสัมพันธ์ และการให้ความรู้ยังไม่ทั่วถึง  บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอขาดความรู้และวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม ประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้าไม่ให้ความสำคัญและไม่ให้ความร่วมมือ และ (3) แนวทางการนำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ควรมีการปรับปรุง พ.ร.บ.ให้เป็นปัจจุบัน พัฒนาบุคลากร เพิ่มจำนวนอัตรากำลังให้มีเพียงพอ สร้างการรับรู้ และความตระหนักถึงโทษภัยจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ประชาชน และเยาวชน

References

เทพินทร์ พัชรานุรักษ์. (2551). พฤติกรรมการบริโภคสุรา ทบทวนองค์ความรู้ สถานการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการสืบสานวัฒนธรรมไทยสู่สุขภาพที่ยืนยาว. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ธีรภัทร์ คหะวงศ์. (2566). วงเสวนา ย้ำ 15 ปี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยลดผลกระทบทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2566, จาก https://www.thaipost.net/

มยุรี อนุมานราชธน. (2556). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2554). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤตติกา เศวตอมรกุล. (2562). การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติรอบสถานศึกษา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(2), 535- 553.

ปกรณ์ เกิดทอง. (2564). ทรัพยากรในการบริหารกับประสิทธิผลของการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

พลภัทร ศรีกุล. (2565). การกำหนดมาตรการกฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 115-124.

วสันต์ ปวนปันวงศ์. (2564). บทบาทและความสัมพันธ์ของพลวัตระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้วาทกรรมนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วสันต์ ปวนปันวงศ์. (2565). ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้นโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีศึกษา ความสัมพันธ์ พลวัต ปัญหา และข้อจำกัด. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 15(1), 48-63.

สมพงษ์ จันทร์ขอนแก่น. (2560). การพัฒนารูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(3), 30-41.

บดินทร์ธร บัวรอด. (2562). การวิเคราะห์นโยบายภาครัฐเพื่อการนำไปปฏิบัติ : ผลกระทบจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(3), 35-44.

ภานรินทร์ ณัฏฐากรกุล. (2562). การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในเขตชุมชนใกล้สถานศึกษาแห่งหนึ่ง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 27-34.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2555). นโยบายสาธารณะไทย : กำเนิด พัฒนาการและสถานภาพของศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.

สมพร เฟื่องจันทร์. (2552). นโยบายสาธารณะ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ออนอาร์ต ครีเอชั่น.

อภินันท์ จันตะนี. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการชั้นสูง. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

เมธารัตน์ จันตะนี. (2565). รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิชาการและนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 2(1), 233-245.

สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ. (2551). พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยและปัจจัยส่งเสริม. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2566, จาก https://www.hfocus.org/

Argyris, C. (2004). Reasons and Rationalizations: The Limits to Organizational Knowledge. Oxford: Oxford University Press.

Daft, R.L. (2003). Management. (6th ed.). New York: Thomson.

Gibson, et al,. (2006). Organizational Behavior Structure Process Behavior Dallas. Taxes: Business Publication, Inc.

Hoy, A. W., & Hoy, W. K. (2003). Instructional Leadership: A Learning-Centered Guide for Principals. Boston: Allyn and Bacon.

Robbins, S. P. (2000). Managing Today. (2nd ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentice-Hall.

World Health Organization. (2018). Global Status Report on Alcohol and Health 2018. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย