ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19

ผู้แต่ง

  • กมลพร กัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทักษะจำเป็น, การทำงาน, ยุคหลังโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19  และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวิธีการวิจัยโดยการค้นคว้าขอมูลจากตำรา หนังสือ เอกสารวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากอินเทอร์เน็ต และการศึกษาภาคสนาม โดยการสังเกตและการสัมภาษณเชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)  ได้แก่  ผู้บริหารภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้างานภาครัฐ เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้างานภาคเอกชน  ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติการภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติการภาคเอกชน จํานวน 20 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)  ผลการวิจัยพบว่า ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19 ประกอบด้วย ทักษะการปรับตัวและความยืดหยุ่น  ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม  ทักษะการใช้ข้อมูล  ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์  ทักษะเชิงดิจิทัล  ทักษะความฉลาดทางอารมณ์  และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดยแนวทางพัฒนาทักษะ คือ (1)  การตระหนักรู้ตนเอง (2)  เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ (3) การลงมือทำ  (4) เรียนรู้ต่อเนื่อง  และ (5) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้

References

จารุวรรณ เมืองเจริญ และประสพชัย พสุนนท์. (2562). การสร้างสรรค์นวัตกรรมกระบวนการทำงานที่มีต่อ
ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์ และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 73-88.
จิราวรรณ อนุชาติ. (ม.ป.ป.). แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก
https://jirawanmy.wordpress.com/เทคโนโลยีสมัยใหม่/
จุฑามาส โหย่งไทย. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์กับศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 344-365.
รณดล นุ่มนนท์. (2560). แนวทางการใช้ประโยชน์จากการบูรณาการข้อมูลจัดตั้งคลังข้อมูลแห่งชาติเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร. (2563). ทักษะแรงงานแบบไหนที่จำเป็นในโลกธุรกิจหลังยุคโควิด-19. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์
2563, จาก https://www.prachachat.net/finance/news-477698
ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2563. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(2), 115-128.
ศักรินทร์ ชนประชา. (2563). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14(26), 159-175.
สุจิราภรณ์ ฟักจันทร์. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 114-124.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). เปิดโลกมองเทรนด์ธุรกิจยุคหลังโควิด ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
Brightside People Team. (2561). 3 โครงสร้างองค์กรยุคใหม่. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.brightsidepeople.com/3-โครงสร้างองค์กรยุคใหม่/
Prosofthcm. (ม.ป.ป.). แนวทางใหม่ในการบริหารบุคลากรยุคใหม่. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/15610
Dressel, P., & Mayhew, L. (1957). General Education: Exploration in Evaluation. Washington. D. C.: American Council on Education.
Goleman, D., & Davidson, R. (2017). Altered Traits: Science Reveals How Meditation Changes Your Mind, Brain, and Body. New York: Avery Books.
Guilford, J. (1980). Cognitive styles: What are they?. Educational and Psychological Measurement, 40(3), 715–735.
Morrow, J. (2020). What Is Data Literacy?. Retrieved February 20, 2020, from https://
www.dataversity.net/what-is-data-literacy/
Kiley, M., & Cannon, R. (2000). Leap into…Lifelong Learning. Retrieved February 19, 2020, from http://digital.library.adelaide.edu. au/dspace/handle/2440/71214
Papadopoulos, N., & Oscar, M. (2010). Toward a Model of the Relationship between Internationalization and Export Performance. International Business Review,19 (4), 388- 406
Quinones, M., Ford, J., & Teachout, M. (1995). The Relationship between Work Experience and Job Performance: A Conceptual and Meta-Analytic Review. Personnel Psychology, 48(4), 887-910.
Sea (Group). (2020). ASEAN Youth 2020 “COVID-19: The True Test of Resilience and Adaptability. from https://www.sea.com/home.
Steele, B. (2009). Digital Literacy Project Teaches Students the Rules of the Online Academic World. From http://www.news.cornell.edu/stories/2009/12/project-teaches-rules-online-
academic-world
World Economic Forum. (2018). The Future of Jobs Report 2018. from
https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย