การประเมินผลโครงการฝายน้ำงาว (บ้านปันใต้) พร้อมระบบส่งน้ำ ตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชัย กุลสุวรรณ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
  • ลักษณา ศิริวรรณ

คำสำคัญ:

การประเมินผลโครงการ, ฝายน้ำงาว, แหล่งน้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลโครงการฝายน้ำงาว (บ้านปันใต้) พร้อมระบบส่งน้ำ ตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาปัญหาการดำเนินงาน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการประเมินได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบ CIPP เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง 23 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร/ เจ้าหน้าที่ชลประทาน ผู้บริหารท้องถิ่น 2) ผู้นำชุมชน และ 3) คณะกรรมการใช้น้ำ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความเชื่อได้ของข้อมูลโดยวิธีการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูลและตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินผลโครงการ ประกอบด้วย (1) ด้านบริบท วัตถุประสงค์โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาพื้นที่และสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ โครงการมีความสอดคล้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวทางพระราชดำริ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า งบประมาณ และข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการไม่เพียงพอ บุคลากร เทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์ และระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสม (3) ด้านกระบวนการ การศึกษาโครงการ การออกแบบลักษณะโครงการ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในท้องถิ่น การก่อสร้างโครงการ การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานมีความเหมาะสม ส่วนการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนยังไม่เพียงพอ (4) ด้านผลผลิต แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในพื้นที่เพิ่มขึ้น (5) ด้านผลกระทบ เกษตรกรทำการเกษตรฤดูฝนและฤดูแล้งเพิ่มขึ้น มีรายได้ และระดับคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 2) ปัญหาการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำดำเนินการแบบแยกส่วน งบประมาณไม่เพียงพอ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการออกแบบลักษณะโครงการมีจำนวนน้อยไม่ครอบคลุมพื้นที่ การก่อสร้างระบบส่งน้ำไม่เป็นไปตามที่กำหนด การประชาสัมพันธ์ การแจ้งข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการและการประสานงานไม่ทั่วถึง ปริมาณน้ำแนวโน้มมีไม่เพียงพอในฤดูแล้งและการบริหารจัดการขาดความต่อเนื่องหลังมีโครงการ 3) แนวทางการพัฒนาโครงการ ได้แก่ การวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบลุ่มน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอื่นเสริมน้ำต้นทุน การขอสนับสนุนงบประมาณจากหลาย ๆ หน่วยงานร่วมกันสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมที่หลากหลายให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมระหว่างการออกแบบลักษณะโครงการ ปรับแผนการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น สร้างกระบวนการสื่อสาร การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ การประสานงานต้องมีแผนดำเนินการและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และมีประสิทธิภาพ และสร้างกระบวนการให้มีความต่อเนื่องในการบริหารจัดการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการใช้น้ำ

 

References

กรมชลประทาน. (2553). คู่มือการวางแผนการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อชุมชนหรือชนบท. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.
กรมชลประทาน. (2559). คู่มือวิธีการปฏิบัติงานกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำ. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.
ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์, และมุจจลินท์ หอมสุวรรณ์. (2561). การประเมินผลโครงการสร้างฝายเขาภูดร ของกลุ่มบริษัทโกลว์. เอกสารประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต. 4 พฤษภาคม 2561. (อัดสำเนา)
วีณา วารกุล, และดวงใจ พุทธวงศ์. (2558). การประเมินโครงการสร้างฝายชะลอน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 04(02), 91-101
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2561). รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สุธรรมา จันทรา. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำจากโครงการชลประทานแม่น้ำชี กรณีศึกษาโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกุดแข้ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 24(01), 72-83
พนามาศ ตรีวรรณกุล, วิจารณ์ วิชชุกิจ, เมตตา เชยสมบัติ, เสถียร แสงแถวทิม. (2556). โครงการการประเมินผลโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย