การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, , แบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม และแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.55)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปัจจัยการเป็นสมาชิกกลุ่มที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  =3.65) ในขณะที่ปัจจัยการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (  = 3.48)

กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.37)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน กิจกรรมการควบคุมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  =3.41) ในขณะที่กิจกรรมการขจัดของเสีย/มลพิษมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (  = 3.32)

รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.32)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  =3.37) ในขณะที่ด้านการตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (  = 3.24)

References

Kanda Jindamongkol. (2015). Environmental management of Muang Nga Subdistrict Municipality Mueang Lamphun District, Lamphun Province, with the public participation process. Master's thesis Program in Public Administration. Graduate School: Nation University.

Jamari, Chiang Thong. (2006). Sociology Phatthanakan. Bangkok: Odean Store.

Kittisak Kaewwaree. (2010). The participation of the people in the conservation of the community of the golden jeans Chainat Province Master of Science Thesis Forest Resources Management Program. Graduate School: Kasetsart University.

Thawat Sittikit Yothin. (2000). The participation of the people in the conservation and the natural resources of mangrove: study only in the case of Khlong Khon Subdistrict. Mueang District, Samut Songkhram Province Master of Arts Social Development Branch. Graduate School: Kasetsart University

Bunyad Yotaka. (2013). Participation in environmental management of community members in Tha Mai Municipality, Tha Mai District, Chanthaburi Province. Master of Science Thesis Environmental Management Development Institute of Development Administration.

Bunlab Sakmanee. (2003). Enhancing the mind to develop government behavior. Display of Education Graduate School: Srinakharinwirot University Prasarnmit.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย