ความร่วมมือเชิงนโยบายของภาครัฐและเอกชนเพื่อลดปัญหาความล่าช้าการก่อสร้าง อาคารสาธารณะขนาดใหญ่เขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นพเมศฐ์ เจริญนพพงศ์ Western University
  • พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล

คำสำคัญ:

ความร่วมมือเชิงนโยบายของภาครัฐและเอกชน, ปัญหาความล่าช้า, การก่อสร้างอาคารสาธารณะขนาดใหญ่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)สภาพปัญหาความล่าช้าและผลที่เกิดจากความล่าช้าการก่อสร้างอาคารสาธารณะขนาดใหญ่เขตกรุงเทพมหานครที่เกิดจากความร่วมมือเชิงนโยบายของภาครัฐและเอกชน 2)ปัจจัยที่มีผลให้เกิดความร่วมมือเชิงนโยบายของภาครัฐและเอกชนเพื่อลดปัญหาความล่าช้าการก่อสร้างอาคารสาธารณะขนาดใหญ่เขตกรุงเทพมหานคร และ3)แนวทางการพัฒนาความร่วมมือเชิงนโยบายของภาครัฐและเอกชนเพื่อลดปัญหาความล่าช้าการก่อสร้างอาคารสาธารณะขนาดใหญ่เขตกรุงเทพมหานครเป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ผู้รับเหมา และผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งสิ้นจำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำมาพรรณาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบมีเหตุผลอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1)เนื่องจากงานก่อสร้างยังจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเป็นผลสะท้อนสภาพปัญหาความล่าช้าและผลที่เกิดความเสียหายจากปัญหาความล่าช้าการก่อสร้างอาคารสาธารณะขนาดใหญ่เขตกรุงเทพมหานคร 2)ปัจจัยที่มีผลให้เกิดความร่วมมือ มีข้อค้นพบที่หน้าสนใจดังนี้ (1)การบริหาร (2)เอกสาร (3)เทคนิค (4)สภาพแวดล้อม (5)แรงงาน (6)คุณภาพ (7)ความปลอดภัย (8)อื่นๆ และ3)แนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อลดปัญหาความล่าช้าให้ผู้บริหารสามารถกำหนดกลยุทธ์การทำงานของทีมงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยศึกษาสภาพภายในองค์กร ได้แก่ โครงสร้างองค์กร ปริมาณและคุณภาพของบุคลากร กระบวนการทำงาน รวมถึงสภาพภายนอกองค์กร เช่น เหตุการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ สภาพสังคม มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระยะเวลาในการก่อสร้างที่จะขับเคลื่อนให้งานสำเร็จตามแผนงานที่ได้วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

เกษตรสันต์ จันทรา และคณะ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการประกอบธุรกิจ รับเหมาก่อสร้างประเภทบ้านพักอาศัยในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราช มงคลธัญบุรี. 10(2): หน้า 63-73.
ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2555). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: คนึงนิจการพิมพ์.
บุญศิริ สุวรรณัง. (2559). ปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่ในมุมมองของเจ้าของโครงการ. ในวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลป ศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25): หน้า 103-118.
ประเวศ วะสี. (2558). ยุทธศาสตร์ประชา-รัฐ พัฒนาประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.).
พราวพิชชา เถลิงพล. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงาน ต่างด้าว ในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(1): หน้า 254-267.
พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). การบริหารจัดการการค้าข้างทางตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 7(2): หน้า 230-244.
ภูชิต โพนทัน. (2555).ปัจจัยของความล่าช้าในงานก่อสร้างของโครงการติดตั้งระบบประตูตรวจสอบอัตโนมัติ. ในวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภาวิน ชินะโชต และคณะ. (2562). ระบบสารสนเทศในงานด้านทรัพยากรมนุษย์. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร.10(1): หน้า 180-191.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วิสูตร จิระดําเกิง. (2560). การบริหารโครงการ : แนวทางปฏิบัติจริง (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี : วรรณกวี.
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า.
วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2556). การบริหารปกครองกับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ. ในอัมพร ธำรงลักษณ์ (บรรณาธิการ), การบริหารปกครองสาธารณะ (Public governance) : การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2) (หน้า 62-84). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สืบพงศ์ สุขสม. (2561). ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน ผลจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 7(1): หน้า 60-65.
สาวิทย์ หลาบมาลา. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(3): หน้า 455-471.
อินท์ชลิตา สุวรรณรังสิมา และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). ความสัมพันธ์ของเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจังหวัดชลบุรี. Veridian E - Journal Silpakorn University. 10(2): หน้า 2820-2840.
เอกกมล เอี่ยมศรี. (2556). การบริหารความเสี่ยงโครงการก่อสร้าง. เรียกใช้เมื่อ 27 กรกฎมคา 2564 จาก https://eiamsri.wordpress.com/category/project-risk-manage ment
Ansell, C., & Gash, A. (2007). Collaborative governance in theory and practice. Journal of Public Administration Researchand Theory, 18, 543-571.
Builk. (2020). ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยระบบบริหารงานก่อสร้างที่มีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 27 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.builk.com/th/ระบบบริหารงานก่อสร้าง.
Bryson, J. M., Crosby, B. C., & Stone, M. M. (2015). Designing and implementing crosssector collaborations: Needed and challenging. Public Administration Review, 75(5), 647-663.
Heikkila, T., & Gerlak, A. K. (2005). The formation of large-scale collaborative resource management institutions: Clarifying the roles of stakeholders, science, and institutions. Policy Studies Journal, 33(4), 538-612.
Kossmann, C. M., Behagel, J. H., & Bailey, M. (2016). Action and inertia in collaborative governance. Marine Policy, 72, 21–30.
Owens, K., & Zimmerman, C. (2013). Local governance versus centralization: Connecticut Wetlands governance as a model. Review of Policy Research, 30(6), 629-656.
Purdy, J. M. (2012). A framework for assessing power in collaborative governance processes. Public Administration Review, 72(3), 409–417.
Shah, A., & Shah, S. (2006). The new vision of local governance and the evolving roles of local governments. In A. Shah (Ed.), Local governance in developing countries (pp. 1-46). Washington, D. C.: The World Bank.
Schoorman, F. D., Mayer, R. C., & Davis, J. H. (2007). An integrative model of organizational trust: Past, present, and future [Editor’s forum]. Academy of Management Review, 32(2), 344-354.
Wilson, R. H. (2000). Understanding local governance: An international perspective. Revista de Administração de Empresas, 40(2), 51-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย