หมู่บ้านรักษาศีล 5 : แนวคิดและรูปแบบการขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระเทพศาสนาภิบาล วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

หมู่บ้านรักษาศีล 5, การขับเคลื่อน , การเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดของแมคคินซีร์ การมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 341 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          (1) แนวปฏิบัติที่ดีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม มีการสร้างเครือข่ายทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างเข้มแข็ง ใช้เครือข่ายเป็นฐานนำคนเข้าสู่สัมมาชีพ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างข้อกำหนดของชุมชนมาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 บูรณาการทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนทางศรัทธา ทุนทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในชุมชนเป็นทุนเพื่อการขับเคลื่อนโครงการ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของจังหวัดนครปฐม พบว่า โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.41 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ในขณะที่ปัจจัยด้านทักษะความสามารถมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 4.17 (3) รูปแบบการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนจังหวัดนครปฐม มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ พื้นฐานต้องเริ่มจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศีล 5 โดยผู้นำในชุมชนจาก 3 ภาคส่วน ประกอบด้วยภาคสังฆกิจ ภาครัฐกิจ และภาคประชากิจ มีภาวะผู้นำในการบริหารภายใต้กลไก 7 ประการ ประกอบด้วยโครงสร้าง ยุทธศาสตร์ ระบบงาน รูปแบบการบริหาร บุคลากร ทักษะความสามารถ ค่านิยม   

References

Jamchamrat, N. (2007). Organization Development. (5th edition). Bangkok: Human Capital Development Center.

Phra Theppariyatimathi, Dr. (2015). “The process of reconciliation in Thai society according to the Buddhist method of paying Athikorn”. (Doctor of Philosophy Thesis Department of Public Administration). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Mahakritsada Kittisopano (Sae Lee). (2015). Creating Reconciliation by driving the 5 Precepts Village Project in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. (Research report). Phra Nakhon Si Ayutthaya: Buddhist Research Institute Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Hanpanich, S. (2015). “An Analysis of the Model for the Development of Buddhist Integration of Quality of Life”. (Doctor of Philosophy Thesis Buddhism). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย