การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ อร่ามเรือง คณะจิตรกรรมประติมากรรมเเละภาพพิมพ์เเละคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน, ออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ 2) เพื่อออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีวิทยา จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2563 ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ระยะเวลา 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2)แบบวัดผลการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐาน 3)แบบประเมินความสามารถด้านการออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าเฉลี่ย ( ) และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.84, S.D. = 0.36) 2.ความสามารถด้านการออกแบบจากแผนการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( = 2.70, S.D. = 0.47)   

References

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Teachers Council of Thailand Printing House Ladprao.

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (1999). National Education Act 1999.

Bangkok: Teachers Council of Thailand Printing House Ladprao.

Chonthicha Chewpreecha. (2011). “Creativity of preschool children doing art activities with banana leaves.” Thesis Master of Education Program Early Childhood Education Program. Srinakharinwirot University.

Thaweesak Chindanurak. (2017). Teachers and students in the age of Thai education 4.0. Electronic journal journal Innovative distance learning.

Tashana Khammanee. (2005). Learning management by learners using research. Bangkok: Chulalongkorn Publishing House University.

Nilwan Kasemsoth. (2009). “The Development of a Research Teaching Series as a Science Base on Substances and Changes for Mathayomsuksa 2 students, Educational Opportunity Expansion School, District Office Kanchanaburi Educational Area, District 1, Kanchanaburi Province.” Independent Research in Education Curriculum Master in Educational Technology college graduate. Silpakorn University.

Mariam Nilphan. (2006). Research methods in behavioral sciences and social sciences. (2nd printing). Nakhon Pathom: Project Promote the production of textbooks and teaching materials Faculty of Education Silpakorn University.

Nikolova Eddins, Stefka G. and Douglas F. Williams. (1997). “Research – Based Learning for Undergraduates: A Model for Marger of Research and Undergraduate Education.” Journal on Excellence in College Teaching.

Spronken – Smith, R. Angle, T. Matthew, H. O’Steen, B. and Robertson J. (2007). How Effective is Inquiry – Based Learning in Linking Teacher and Research. An International Colloquium on International Policies and Practices for Academic Enquiry. Available from http://portallive.solent.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย