เปรียบเทียบการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ อธิภาคย์ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • นิคม เจียรจินดา สถาบันรัชต์ภาคย์
  • วิรมล เวศสุนทรเทพ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ญาณกร โท้ประยูร สถาบันรัชต์ภาค

คำสำคัญ:

การใช้จ่ายงบประมาณ, องค์การบริหารส่วนตำบล, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของประชาชนและบุคลากรในองค์กร ต่อการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดปทุมธานี  2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดปทุมธานี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือจังหวัดปทุมธานี การศึกษาครั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในฐานะเป็นตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลให้ข้อมูลในจังหวัดปทุมธานีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในกองคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดปทุมธานี และผู้ใช้บริการ และประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดปทุมธานี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 ท่าน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยศึกษาทฤษฎี แนวความคิด วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์และนำเสนอผลแบบเชิงพรรณา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจว่าเมื่อข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้รับอนุมัติและประกาศใช้แล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินการตามโครงการ/แผนงานได้เลย 2)ปัจจัยมีผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดปทุมธานี พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58) ส่วนแนวทางงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับหน้าที่ของผู้บริหารคือการสื่อสารต่อประชาชนต่อการนำงบประมาณมาใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่าให้มีความโปร่งใส การจัดสรรงบประมาณต้องทันต่อเหตุการณ์และความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

References

Chitrachot, S. et al (2018). Guidelines for budget management according to good governance principles. for educational institutions to expand opportunities in Khlong Luang District Pathum Thani Province, Journal of Perspective Education, (1) 81-93

Geraldo, Emmanuel Flowers. (1999). “An Evaluation of the Effect of Agency Conditions on the Implementation of Florida’s Performance – Based Program Budgeting,” Dissertation Abstracts International. 16 : 45 – A

Leungthaveephon, T. (2008).Administration in accordance with good governance of educational institution administrators under the Office of Nakhon Sawan Educational Service Area, District 3. Master of Education Thesis. Graduate School : Thepsatri Rajabhat University

Office of the Civil Service Commission, (2000). Handbook on the creation of civil affairs management system. and good society 2003. Bangkok: PA Living.

Phonkanung W. & Jaroenjitt R.(2019). Problems with budget spending of the Subdistrict Administrative Organization. Case Study of Prasat Subdistrict Administrative Organization Huai Thap Than District Sisaket Province, Journal of Philosophical Vision 24(1)10-17

Poolsiri N.& Soompong, S. (2001). Budget Allocation Process of the Narathiwat Provincial Administrative Organization, Princess of Naradhiwas University Journal 5(3) 122-131

Rakchatcharoen, K.(2014). The use of the national budget under the nature of public services: a study of the budget 2001-2010, Srinakharinwirot Research and Development Journal. (Humanities and Social Sciences) 6 (11) 14-23

Ritthitham W.&Bamrungta, W.(2021). Subdistrict Administrative Organization: General Context, Problem Conditions and Ideas That Should Be Reformed, Journal of MCU Nakhondhat8(5),1-16.

Sajpanroj. N. (1996). Preparation, approval and administration of the national budget: theory. and practice. Bangkok: Bophit Publishing

Tokrasa T. (2013). Notes on the dissolution of the Provincial Administrative Organization in Thailand, Nittaphat Nida Law Journal 9(1)72

Tongchin K.(2009).Budget management with a focus on results related to the effectiveness of academic administration of basic educational institutions. Under the Phetchaburi Educational Service Area Office, District 2. Master of Education Thesis Faculty of Education, Phetchaburi Rajabhat University.

Theppanya, P. (2018). The development of planning and budgeting models. in an integrated manner that supports the implementation of government policies, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1-15

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย