การศึกษาคุณลักษณะความเป็นไทยที่สังคมคาดหวังสำหรับนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • พันธ์พนิต ช้างจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จตุพล ยงศร และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ ความเป็นไทย นิสิตนักศึกษา สังคมคาดหวัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นไทยที่สังคมคาดหวังสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะความเป็นไทยที่สังคมคาดหวังสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาไทย และ 3) ศึกษาการบริหารจัดการคุณลักษณะความเป็นไทยของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้สอนและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีประสบการณ์การทำงานและความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย รวมทั้งสิ้น 15 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะเนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะความเป็นไทยที่สังคมคาดหวังสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาไทยประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการปฏิบัติ และด้านจิตสำนึก
2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะความเป็นไทยที่สังคมคาดหวังสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาไทยมี
3 ปัจจัยหลัก คือ ความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ความนิยมวัฒนธรรมต่างชาติ และความเจริญของเทคโนโลยี และ 3) การบริหารจัดการคุณลักษณะความเป็นไทยของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทยของแต่ละสถาบันอุดมศึกษายังคงมีอยู่ เพียงแต่ว่าแต่ละแห่งจะมีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับจุดเด่นอันเป็น
อัตลักษณ์ของสถาบัน รวมไปถึงการเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา

References

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1981). Evaluation to Improve Learning. Handbook II: Affective Domain. New York, NY: Mckey Company.

Boyd, C. M., & Ellison, N. B. (2008). Social network sites: Definition, history, and scholarship. Journal of computer-mediated communication. 13(2): 210-230.

Chitradub, S.(2008).Thai youth crisis at present. Retrieved January 11, 2020, from www.manager.co.th/ QOL/ ViewNews.aspx?NewsID=9500000099459

Jitjuejoon, P. (2019). The current situation of Thai youth worrisome and more worried in the future. Retrieved May 26, 2020, from https://www.matichon.co.th/

Ministry of Education Thailand Announcement: Higher Education Standards 2018. (July 20, 2018) Government Gazette. Book 135th special 199 ง, p.19-21.

Office of the Education Council: ONEC. (2009). A Survey result of Thai youth feelings for finding desired characteristics. Retrieved July 8, 2020, from www.manager.co.th/

Paraminthra Maha Bhumibol Adulyadej, Phrabat Somdet Phra. (1994). Royal Guidance for Thai Students’ Association in Japan Under Royal Patronage: February 27, 1994.

Ramajitti Institute. (2005). A survey of Thai youth living culture about “Life and Thainess”. Retrieved January 11, 2020, from www.ramajitti.com/research_ project.php

Sinlarat, Paitoon. (1987). Higher Education with Thai Society. Bangkok: Chulalongkorn University.

SuanDusitPoll. (2017). Thai youth behavior nowadays. Retrieved January 11, 2020, from https://suandusitpoll.dusit.ac.th/UPLOAD_FILES/POLL/2560/PS-2560-1486861345.pdf

Supparerkchaisakul, N., Kijtorntham, W., Junprasert, T. &; pungposop, N. (2014). The Development of Promoting Model for Sustainable Behavior Conformability with Thai Value and Culture. (Research reorts). Bangkok: Graduate School of Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย