ดนตรี : ปี่พาทย์มอญ

MUSIC : PI PHAT MON

ผู้แต่ง

  • ไตรตรึงษ์ พอยม่วง 0858661441

คำสำคัญ:

ดนตรีมอญ, ปี่พาทย์มอญ, เพลงที่ใช้บรรเลงในพิธี

บทคัดย่อ

วงปี่พาทย์มอญ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีชาติมอญ ซึ่งใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรม สามารถบรรเลงได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล แต่ปัจจุบันนี้ใช้สำหรับประโคมในงานศพเพียงอย่างเดียว บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอ 1. ประวัติพัฒนาการดนตรีมอญ ในประเทศไทย 2. รูปแบบการบรรเลงเพลงมอญ ทำนอง จังหวะ ลีลา เพลงเพลงที่ใช้ 3. ขั้นตอนการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ในงานศพ มอญกับไทยนั้นมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมาอย่างนาวนาน ซึ่งส่วนหนึ่งนันก็คือ ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์มอญที่บรรเลงกันนั้นท่วงทำนองเพลงและการบรรเลง สำเนียงและลีลาที่โศกเศร้า เพลงที่ใช้ประโคมในช่วงเวลาต่างๆ ขั้นตอนเกี่ยวกับงานศพ เช่น เพลงประจำวัด เพลงประจำบ้าน เพลงยกศพ ตลอดจนเพลงมอญที่อยู่ในกลุ่มที่ใช้บรรเลงต่อจากเพลงประจำวัด และเพลงประจำบ้าน ส่วนเพลงที่ใช้บรรเลงทั่วไปเพื่อความบันเทิงด้านการฟัง ใช้บรรเลงในช่วงเวลาต่างๆ ขั้นตอนการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ที่เป็นแบบแผนดั้งเดิมที่เคยมีมาในอดีตก็พปรับรูปแบบให้เป็นแบบผสม แบบเก่าดั้งเดิมหลงเหลืออยู่น้อยมาก และที่สำคัญไม่มีผู้สืบทอด หากวงดนตรีมอญที่เป็นแบบผสมผสานระหว่างไทยกับมอญ ที่มีสำเนียงมอญแบบไทยๆนั้นยังคงอยู่ เพราะยังมีส่วนในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมต่างๆ และมีสำเนียงที่คุ้นหูคนไทย จากบทความนี้จะทำให้ทราบถึงประวัติพัฒนาการ รูปแบบการบรรเลง และการนำไปใช้ ซึ่งปัจจุบันนับวันจะเลือนหาย การศึกษา ครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสืบสานและเผยแพร่องค์ความรู้สู่สารธารณะ เพื่อประโยชน์ ในการอนุรักษ์ และพัฒนาดนตรีปี่พาทย์มอญ

Author Biography

ไตรตรึงษ์ พอยม่วง, 0858661441

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

References

Amatayakul,P. (1997). Leader of Siam. Bangkok : HI-FI -STEREO Magazine.

Chotipinyokul,P. (2011). The worldview of the Mon people in the ordination ceremony A case study of Ban Nakhon Chum Ban Pong District Ratchaburi Province. Master of Arts. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Danpradit,P. (2000). Characteristics of regular songs In the Piphat Mon orchestra. Master of Arts. Nakhon Pathom : Mahidol University.

Duangchantip,S; Phatchinda,C; and Nakkong,A. (1996). Piphat Nang Hong and Song Nang Hong. Bangkok : in the commemorative book of the Wai Kru Ceremony of Thai Music Academic Year 1996, Department of Music Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Suwan Picture Room.

Kaewbucha,M.(1999). Mon, house song big gong Mon music office. Nakhon Pathom : Graduate School, Mahidol.

Klaimuk,K. (1998). The succession of Piphat in Bang Ban District. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Master of Arts. Nakhon Pathom: Mahidol University.

Kongpin,N.(1996). The study of music culture of Piphat Mon.Research report. Bangkok: Chulalongkorn University.

Lawan,S. (2013). Analyzing Mon songs in the house. The gong mon of the primary school student. Phitsanulok : Journal of Humanities Naresuan University 10(3) September - December 2013.

Pikulsri, C. (1996). Mon Piphat Culture of Thailand. Chonburi : Commemorative book of the 27th Thai Higher Education Music Fair, 2-14 July 1996 at Burapha University.

Rajanupap, D. (1962). Somdet. Bangkok : Volumes 1-26, handwriting of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Prince Krom Phraya Risaranuwatiwong and Somdet Krom Phraya Damrong Rajanupap.

Saengngam, C. (2014). Study of the popular Piphat orchestra Phanom Mue Wan, Taphan Hin District. Phichit Province. Master of Arts. Bangkok : Srinakharinwirot University.

Srinoraset,S.(2015). Analysis of the characteristics of Mon Ko Kret songs in Piphat Mon ensemble. Yayam Arts Faculty. Bangkok : Fine Arts. Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-03-2022

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ