การตีความเหตุสุดวิสัยของผู้ใช้แรงงานตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ในสถานการณ์วิกฤตจากโคโรน่าไวรัส (COVID-19)

INTERPRETATION OF FORCE MAJEURE FOR LABORERS UNDER THE SOCIAL SECURITY ACT, B.E. 2533 DURING THE CORONAVIRUS CRISIS (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ชดาทิพ ศุภสุวรรณ 0858661441

คำสำคัญ:

เหตุสุดวิสัย, พระราชบัญญัติประกันสังคม, โคโรน่าไวรัส

บทคัดย่อ

เหตุสุดวิสัยจากสถานการณ์วิกฤตจากโคโรน่าไวรัส (COVID-19) รัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกันตนหรือลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคให้ลูกจ้างเป็นการได้รับประโยชน์โดยมิต้องมีคู่พิพาทหรือคู่กรณีนำคดีขึ้นสู่ศาล แต่ยังไม่มีคู่กรณีที่นำประเด็นไปสู่ศาลเพื่อวินิจฉัย บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการตีความเหตุสุดวิสัยตามขอผู้ประกันตนหรือจากลูกจ้าง กฎหมายและพระราชบัญญัติประกันสังคมในสถานการณ์วิกฤตจากโรคระบาดโคโรน่าไวรัส (COVID-19) โดยใช้กฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติกรณีของเหตุสุดวิสัย และการตีความเหตุสุดวิสัยตามแนวคำพิพากษาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ผ่านเหตุสุดวิสัยตาม ตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และมาตรา 79/1

ผลการวิจัยพบว่า ลูกจ้างหรือผู้ประกันตนได้รับประโยชน์จากเหตุสุดวิสัยต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้ 1) ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถประกอบกิจการได้ 2) เมื่อลูกจ้างผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและภายในห้าเดือนก่อนผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน 3)ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังโรคระบาด 4) ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้าง 5) ลูกจ้าผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันแต่ไม่เกิน 90 วัน 6) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 13  สิงหาคม 2563 หรือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคระรัฐมนตรี

Author Biography

ชดาทิพ ศุภสุวรรณ, 0858661441

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

References

Leelapatana, R. (2012). Introduction to Law. Bangkok : Winyuchon.

Posakabutra, N., Sunthornpan, P. (2005). Principles of Private Law. Bangkok: Faculty of Law,

Ramkhamhaeng University.

Royal Institute. (2011). Dictionary of the Royal Institute B.E. 2554. 2nd Edition. Bangkok:

Nanmeebooks Publication. (in Thai).

Ruyaporn, T. (2012). Civil and Commercial Code. Bangkok: PimaksornPublishing.

Saengtien, B. (2007). Business Law. Bangkok: WITTHAYAPHAT Co.,Ltd.

Social Security Office. (2019). Social Security Guide. Nonthaburi: Central office for

Information.

Supreme Court of Thailand. (2020). Judgments, Order Motion, Supreme Court judgments.

Accessed July 27, 2020. From http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/search.jsp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-03-2022

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ