รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักธรรมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรายการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา

    ผลการวิจัยพบว่า 

  1. การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 1) ด้านการวางแผน ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 2) ด้านการปฏิบัติตามแผน ปฏิบัติตามแผนในด้านการประสานงาน ด้านการสนับสนุน งบประมาณวัสดุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ  3) ด้านการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนในด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไขประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานพัฒนาท่องเที่ยว
  2. การประยุกต์หลักธรรมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 1) ด้านอาวาสสัปปายะ การบริหารจัดการวัดโดยจัดบริเวณวัดให้มีความสะอาด แสงสว่างเหมาะสมกับการศึกษาปฏิบัติธรรม 2) ด้านโคจรสัปปายะ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางให้มีความเหมาะสมสะดวก 3) ด้านภัสสสัปปายะ จัดบุคลากรเข้ามาประสานกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อช่วยดูแลและสนับสนุนต้อนรับนักท่องเที่ยว 4) ด้านปุคคลสัปปายะ สนับบุคลากรพัฒนาวัดให้เพียงพอต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยว 5) ด้านโภชนสัปปายะ มีการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น 6) ด้านอุตุสัปปายะ พัฒนาวัดให้สัปปายะ มีอากาศที่มีความเหมาะสมตามฤดูกาล 7) ด้านอิริยาปถสัปปายะ สนับสนุนการจัดกิจกรรมของวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรมเชื่อมโยงกับกิจกรรมของชุมชน

          3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 1) ด้านการให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เน้นประวัติศาสตร์โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของชุมชน 2) ด้านการจัดการทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับวัด และชุมชนสร้างสรรค์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3) ด้านการคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของท้องถิ่นในแง่ของสังคมและวัฒนธรรม ปราชญ์ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้และจัดทำหลักสูตร 4) ด้านการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีจิตสำนึกในการให้บริการที่ดีมีมาตรฐาน 5) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ชุมชนรักและหวงแหนวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 6) ด้านการสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว ส่งเสริมให้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 7) ด้านการคำนึงถึงขีดความสามารถรองรับของพื้นที่และความสะอาดของพื้นที่ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน

References

Bancha Nakthong, et al. (2007) Project on the potential of tourism in arts and culture in the southeastern part of Thailand. Research report. Bangkok : Office of the Research Fund.

Kanchana Sanglimsuwan and Saranya Sanglimsuwan. (2012). Sustainable cultural heritage tourism. Executive Journal. Volume 32, Issue 4 (October-December): 139-146.

Kerdchai Chuannueng, (2015). “Chiang Rai Remembrance: Foundations for a Sustainable Tourism Future”, Journal of Administrative Development, Vol. 5, No. 5 (January-April) : 103-109.

Kritsada Phinsri, et al. (2007). Potential of Lan Xang cultural archaeological sites in the South Isan for cultural tourism. Research report. Surin Rajabhat University.

Mingsan Kaosai and colleagues. (2006). The Development of Sustainable Integrated Gold Tourism in the Mekong River Basin 2. Research Report. Chiang Mai : Social Research Institute. Chiang Mai University

Phra Brahmakunaphorn, (P.A. Payutto). (2003). Dictionary of Buddhist Studies. Dharma edition, printing 12th. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing Press.

Pongphon Thawanhataikul and team. (2007). Guidelines for the development of agricultural tourism potential. in the southern northeastern provinces. Research report. Bangkok : Office of the Research Fund.

Surasak Silawanna, (2012). Tourism and the spread of Buddhism, the role of temples in Bangkok, a case study. Wat Bowonniwet Vihara and Wat Benchamabophit Dusitwanaram, Executive Journal, Vol. 32 No. 4 (October-December): 146-166.

Tourism and Sports. (2015). Chiang Rai Tourism. Chiang Rai : Journalism.

Tourism Authority of Thailand. (2000). Understanding the area, understanding tourism - Chiang Rai. Bangkok : Tourism Authority of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย