การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

DEVELOPMENT OF LEARNING BEHAVIOR SCALE BASED ON THREEFOLD TRAINING FOR KAI WAI SAI COURSE AT MAHACHULALONGKORNRAJAVIDYALAYA, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA

ผู้แต่ง

  • พระอาทิตย์ ศรีพารัตน์ สภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
  • ลำพอง กลมกูล

คำสำคัญ:

แบบวัด, พฤติกรรมการเรียนรู้ , หลักไตรสิกขา , ค่ายวัยใส

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาแนวทางการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส 2)  เพื่อสร้างแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส 3)  เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้การวัดเชิงคุณภาพในการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ วิทยากรหลักสูตรค่ายวัยใส 7 รูป/ท่าน และประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ในปีการศึกษา 2563 สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตั่วอย่างจากผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 3600 คน มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 360 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติแบบบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส พบว่า ด้านการอบรมและดูแลผู้เรียน วิทยากรจะต้องมีความเป็นกันเอง เข้าถึงผู้เข้ารับการอบรม เพื่อทำให้ผู้รับเข้ารับอบรมได้เปิดใจรับฟังและเข้าใจการอบรมธรรมะได้ง่ายขึ้น ในด้านการติดตามและประเมินผล ทางค่ายจะมีการวัดผลตามตัวชี้วัดของค่ายนั้นๆ โดยจะมีการเก็บข้อมูลจากการติดต่ออาจารย์หรือหัวหน้าของหน่วยงานนั้นๆ และในด้านการจัดการอบรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน มีการสอดแทรกเนื้อหาให้ทันยุคทันสมัยทันเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆ ให้เป็นตัวอย่างเพื่อจะได้สอนธรรมะให้เห็นชัดมากยิ่งขึ้น 2. แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ประกอบด้วย  3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านศีล 2) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสมาธิ และ 3) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านปัญญา และในแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 8 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) การพูดดี  2) การกระทำสุจริต 3) การดำรงชีพสุจริต 4) การมีความเพียรพยายาม 5) การมีสติกำกับตนเอง 6) การมีจิตตั้งมั่น 7) การมีทัศนคติที่ดี และ 8) การมีความคิดที่ดี 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ที่พัฒนาขึ้น ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันอันดับที่สองของโมเดลการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส (BSMW) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี พิจารณาได้จากค่าไค – สแควร์ (=21.96, df=15, p=.1088) ซึ่งแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน (GFI)มีค่าเท่ากับ .985 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .96 และค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR)มีค่าเท่ากับ .01 แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

Abbeduto, L., & Symons, F. (2008). ISSUE 15: Should schools embrace computers and technology? In: Taking sides: Clashing views on controversial issues in educational psychology. New York: McGraw Hill.

Education Council Secretariat. (2005). National Education Standards. Bangkok: Partnership for blogging and printing.

Santrock. J. W. (2008). Educational psychology (3rd ed.). Boston: McGraw-Hill.

Supakorn Chantravuthikorn and team. (2019). Study and Develop A Training Model Based on The Tri-Sikkha Principles to Strengthen Ethical Leadership of Executives and Corporate Supervisors. Journal of MCU Nakhondhat. 6(10).

Weena Prachakul. (2006). Measuring creativity with the TCT-DP test (tct-dp). academic journal. 9(3), 14-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-03-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย