การพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านห้วยศาลา จังหวัดราชบุรี โดยใช้กิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ ๔

DEVELOPMENT OF PUBLIC MIND BEHAVIOUR OF THE 4TH PRIMARY SCHOOL STUDENTS OF BANHUAYSALA SCHOOL, RATCHABURI PROVINCE USING GUIDANCE ACTIVITY BASED SANGAHAVATTHU IV

ผู้แต่ง

  • พระอธิการปติเวศ นพธนาพัชร สภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ
  • พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล

คำสำคัญ:

จิตสาธารณะ, กิจกรรมการแนะแนว , หลักสังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเรื่องสังคหวัตถุ 4 และการพัฒนาจิตสาธารณะเป็นกรอบการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 สำหรับพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการและครูผู้สอนที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ท่าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4  2) ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 3) แบบวัดจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Paired samples t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) จิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวชี้วัดที่ 1 และตัวชี้วัดที่ 2 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา จังหวัดราชบุรี ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 มีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 และติดตามผล มีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะไม่แตกต่างกัน 3) ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวม มีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.01 S.D. = 0.44 T-norms = 47) ส่วนหลังเข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวม มีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะอยู่ในระดับสูงมาก (= 4.27 S.D. = 0.14 T-norms = 76) และติดตามผลหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวม มีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.26 S.D. = 0.15 T-norms = 76)

References

Chittikarn Sabaijit. (2015). Developing a Model of Learning Activities to Enhance Public Mind for Grade 6 Students. Doctor of Philosophy Thesis (Innovative Program in Curriculum and Learning). Graduate School: Mahasarakham University.

Office of the National Economic and Social Development Board Prime Minister's Office. National Economic and Social Development Plan, No. 12, 2017 – 2021.

Phra Chirasak Teepathammo (Dathong). (2017). Public Mind Development Using Cooperative Learning Based on Sangahavathu 4 of Prathomsuksa 6 Students at Wat Wang Hin School Chonburi. Master of Arts Thesis. Department of Educational Psychology and Guidance. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Somdej Phra Buddhakosachan (P.A. Payutto). (1997). A Constitution for Living, Original and revised editions-more. (1-200 ed.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย