การบริหารกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา

MORAL SCHOOL ADMINISTRATION AFFECTED DESIRED CHARACTERISTICS OF STUDENTS UNDER THE SECONDARY SCHOOL EDUCATIONAL SERVICE NONTRABURI AND PARA NAKHON SI AYUTTAYA

ผู้แต่ง

  • สมร โกวิทชัย คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
  • ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหารกิจกรรม, โรงเรียนคุณธรรม, คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีการศึกษาวิจัยด้วยวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีการทดสอบความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือด้านที่ 1 นโยบายโรงเรียนคุณธรรม ด้านที่ 2 การดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ด้านที่ 3 คุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ 8 ประการ โดยใช้สถิติ Levene’s test จะใช้สถิติในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารกิจกรรมของโรงเรียนคุณธรรมที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการบริหารกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด หากพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่ 2 การดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม รองลงมา ด้านที่ 1 นโยบายโรงเรียนคุณธรรม ด้านที่ 3 คุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ 8 ประการ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรม ด้านนโยบาย ด้านการดำเนินงาน สมการดังนี้ Y=2.494+(.828) Policy+.727 ส่งผลต่อระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา อยู่ที่ระดับ .0000 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คิดเป็นร้อยละ 77.2 

References

Ministry of Education. (2002). 1999 National Education Act and its amendments (No. 2), 2002. Bangkok: Teachers Council of Thailand, Ladprao.

Driving school morality OBEC. (2019) . Guidelines for driving the moral school project Office of the Basic Education Commission fiscal year. [Online]. Accessed 17 September 2020. From http://203.159.154.241/innogoth/wp-content/uploads/2017/03.pdf

Moral School Practice Manual by Yuwasathirakhun Foundation. (2020). Handbook of moral school development activities.

http://vyouth.org/uploads/knowledge/file/20160705/fghimnuw2678.pdf [Online]. Accessed 12 September 2020.

Yuwasathirakhun Foundation. (2015). School of Moral Practice Manual. Bangkok: Sahamit Printing and Publishing Co., Ltd.

Suchada Thawornchat (2016). Factors affecting academic administration in educational institutions under the district office Nakhon Sawan Primary Education Area, District 2. Master of Education Department of Educational Administration Nakhon Sawan Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย