คุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
นโยบายภาครัฐ, คุณภาพชีวิตของประชาชน, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยมาตรการความช่วยเหลือทางการเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดำเนินนโยบายโดยรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง 4 โอกาสใหม่ ได้แก่ 1. สร้างโอกาสการมีงานทำ 2. ฝึกอบรมด้านอาชีพและหรือยกระดับการศึกษา 3. เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และ 4. ได้รับบริการสาธารณะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อคุณภาพในการดำรงชีพ ทั้ง 4 โอกาสพบว่ามี 6 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันในการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลดจำนวนคนยากจนทั่วประเทศ
จากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่ามี 4 ปัจจัยหลักคือ (1) ปัจจัยเกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยการประสานความมือของหน่วยงานภาครัฐ (3) ปัจจัยด้านข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (4) ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากความช่วยเหลือทางการเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แล้ว จำเป็นต้องปรับกรอบนโยบาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประสบความร่วมมือเกิดความคล่องตัวในการนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างถูกต้องเป็นปัจจุบันที่สุด สามารถใช้ติดตามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการฝึกอบรมตามหลักสูตรและโปรแกรม เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งงานอย่างเป็นธรรม มีรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอดคล้องยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ว่าด้วยคนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนา และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ว่าด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน อย่างทั่วถึง เป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียม
References
Prasitta, C. (2019). Science and art qualitative research. 8th edition, Bangkok: Chulalongkorn University Press.
บุญทัน ดอกไธสง. (2553). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.
Dokthaisong, B. (2010). The scope of the globalization of public administration. Bangkok: Intellectuals.
ประสงค์ชัย เศรษฐสุรวิชญ์. (2558). การศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย: วิเคราะห์ตัวแบบพหุกระแสและการนำไปใช้. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 7 (3) กันยายน-ธันวาคม 2558, หน้า 301-331.
Sethasurawit, P. (2015). The study of entering the policy agenda: analyzing the multivariate model and its application. Journal of Politics, Administration and Law. 7 (3) September-December 2015, pp. 301-331.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560 ก). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 หน้า 21 ลงวันที่ 6 เมษายน 2560.
Government Gazette (2017 a). Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. Volume 134, Part 40, Page 21, dated April 6, 2017.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 หน้า 21 ลงวันที่ 6 เมษายน 2560.
Government Gazette (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. Volume 134, Section 40, Page 21, dated April 6, 2017.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561.
Government Gazette (2018). Announcement on the National Strategy (2018-2037). Volume 135, Section 82 Kor, dated October 13, 2018.
วิชาญ ทรายอ่อน. (2560). โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ. (ข้อมูลออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 22สิงหาคม 2562. จาก: http://library2 .parliament.go.th/ebook/content-issue/2560/hi 2560-014.pdf
Saion, W. (2017). The State Welfare Registration Program. (Online information). Accessed on August 22, 2019. from: http: // library2 .parliament.go.th / ebook / content-issue / 2560 / hi 2560-014.pdf.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2551). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.
Thamrongthanyawong, S. (2008). Public Policy: Concept, Analysis and Process. Edition 6. Bangkok: Saematham.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). The 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: The Teachers Council of Ladprao Publishing.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560) สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. (2017) important results 2017 Household Socio-Economic Survey, Bangkok: National Statistical Office.
สุรชัย เจนประโคน. (2552). “นโยบายสาธารณะและการวางแผน.” เอกสารประกอบการสอน สมุทรสาคร : วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร.
Jenprakhon, S. (2009). “Public Policy and Planning.” Teaching Materials Samut Sakhon: Samut Sakhon Community College.
อมร รักษาสัตย์. (2548). การพัฒนานโยบาย. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Raksat, A. (2005). Policy development. Bangkok: Faculty of Public Administration National Institute of Development Administration.
อำพล จินดาวัฒนะ. (2557). การอภิบาลร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
Chindawatthana, A. (2014). Contemporary pastoral care. Bangkok: Office of the National Health Commission.
Denhardt, R.B. and Denhardt, V.J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York: M.E. Sharpe, Inc.
Easton, D. (1953). The Political System: An Inquiry into the State of Political Science. New York: Alfred A. Knopf.
Hood, Christopher. (1991). A Public Management for All Seasons?. Public Administration. 69, pp. 3-19.
Mark, Considine. (2005). Making public policy: Institutions, actors, strategies. Cambridge, MA: Policy Press.
Osborne, David and Ted Gaebler. (1992). Reinventing Government: How the Entrepreneurial Spirit is Transforming the Public Sector. New York: NY.