การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพินิจวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ

ผู้แต่ง

  • จิรศักดิ์ ขวัญสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บำรุง ชำนาญเรือ

คำสำคัญ:

การพินิจวรรณคดีไทย, การจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพินิจวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพินิจวรรณคดีไทย ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพินิจวรรณคดีไทย และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพินิจวรรณคดีไทย        ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

กระทรงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัมพุชนาฎ เปรมกมล และบรรเทา กิตติศักดิ์. (2526). การพินิจวรรณคดีมรดกเฉพาะเรื่อง.
พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
กุสุมา รักษมณี. (2547). วรรณสารวิจัย. กรุงเทพมหานคร : แม่คำผาง.


จันจิรา ผึ้งพงษ์. (2558). “การพัฒนาความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการ
จัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.”
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จารุวรรณ เทียนเงิน. (2547). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพินิจวรรณคดีไทยของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช่วิธีสอนตามแนวคิดของสเตอร์นเบอร์กกับ
วิธีการสอนแบบปกติ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
การสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตรลดา แสงปัญญา. (2555). ประมวลสาระชุดวิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางวิชา
ภาษาไทย หน่วยที่ 1 – 4 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5) นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จุฬาลักษณ์ คชาชัย. (2557). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน.”
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). “การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิง
สร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนัท อู๊ดน้อย. (2558). “ความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ เรื่อง แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ.” วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทย ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2
กับแบบปกติ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน
ภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2533). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.
กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). ขอบฟ้าแห่งความรู้. กรุงเทพมหานคร :
กรมวิชาการ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2551). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : ศยาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุรฉัตร บุญสนิท. (2544). “ปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดีไทยในยุคปฏิรูปการศึกษา.”
ภาษาและหนังสือ 32, 3 (เมษายน) : 56 - 60
รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2555). ความรู้ทั่วไปทางภาษาและวรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์น.
ศรีวิไล ดอกจันทร์. (2529). การสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทย. เชียงใหม่ :
คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพมหานคร :
โอเดียนสโตร์
_________. (2531). คิดเป็นตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
_________. (2535). สมบัติทิพย์ของการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning and theory of instruction.
Japan : CBS College Publishing.
Nhat Hanh, Thich. (1998). The Heart of the Buddha's Teaching. New York :
Broadway Books.
Rahula,Walpola Sri. (1967). What the Buddha Taught. Bedford : Gordon
Fraser Gallery.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย