การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค KWL plus

ผู้แต่ง

  • นิภาพร พรมทา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การอ่านจับใจความ, เทคนิค KWL plus

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ของครูก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูด้านการอ่านจับใจความ 3)เปรียบเทียบความสามารถในด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบหลังเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus กลุ่มตัวอย่าง 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 6/3 และ 6/5 โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) จำนวน 118 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม และ 2) ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงตามห้องเรียนที่สอนในกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบวัดความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และเทคนิคการสอนแบบ KWL  Plus แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครู แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL  Plus

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูหลังสร้างชุมชน         การเรียนรู้ทางวิชาชีพ สูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก 3) ความสามารถในด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  และความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75  4) ความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
รินทร์ลภัส เฉลิมธรรมวงษ์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL plus. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2560). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
. (2556). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสรางชุมชนการเรียนรูทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีสวนรวม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2551). หลักและวิชาการสอบอ่านภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สุธิภรณ์ ขนอม. (2559).รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต วิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย