การตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, ประชาชน, การเลือกผู้นำท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่น เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโตนดอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 400 คน จากการแทนค่าในสูตรของ “Taro Yamane” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้/เดือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย พบว่า ปัญหา อุปสรรค คือ ประชาชนบางคนไม่ค่อยออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะบางคนไปทำงานอยู่ต่างจังหวัดและไกลบ้าน รวมทั้งประชาชนไม่รับทราบการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งของตนและคู่สมรสทั้งก่อนและหลังดำรงตำแหน่ง ในบางครั้งมีการทุจริตในการเลือกตั้ง ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในสิทธิ บทบาทหน้าที่ของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมการเมืองท้องถิ่น และการไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเป็นการป้องกันสิทธิของตนเอง ควรมีกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินให้ประชาชนได้รับทราบ รวมทั้ง มีกระบวนการการร้องเรียนร้องทุกข์เพื่อป้องกันการทุจริตและควรมีบทลงโทษตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิด
References
ชัยพจน์ จำเริญนิติพงศ์ (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา
ลัคนา ถูระบุตร (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) กรณีศึกษา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. บทความ
รัฐประศาสนศาสตร์
พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย (2559).ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารการเมือง. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกริก.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2557).
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการกระจายอำนาจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 จากhttp://www.odloc.go.th/web/wpcontent/ uploads/2014/08/2km_001.pdf
กรมการปกครอง (2562). องค์การบริหารส่วนจังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563จากhttps://www.dopa.go.th/info_organ/about7/topic31