การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS

ผู้แต่ง

  • ธนวิทย์ กวินธนเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • อธิกมาส มากจุ้ย

คำสำคัญ:

ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, การทำงานเป็นทีม, SQP2RS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน          อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม         การเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานเป็นทีม              ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS        และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม        การเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/6 โรงเรียนพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1         ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้แบบแผนการวิจัยพื้นฐานแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ  4) แบบสอบถามความคิดเห็น    ของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามกลวิธี SQP2RS        อยู่ในระดับดี 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด   

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ ส่งเสริมวิชาการ.
Tragoolsarid, V. (2006). Teamwork. Bangkok: Academic Promotion Center.


จรูญ ประทุมรุ่ง. (2545). ผลของการใช้ชุดแนะแนวเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
Pratumrung, C. (2002). The Effect of Using The Guidance Kit for Developing Group Working of Prathomsuksa 6 Students at Banwangyao School in Danchang District, Suphanburi. (Master’s thesis Educational Psychology). Srinakharinwirot University. Bangkok, Thailand.
ชนัญพร ณรงค์ทิพย์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยโดยใช้กลวิธี เอสคิวพีทูอาร์เอสที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและ การตอบสนองต่อวรรณกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Narongthip, C. (2013). Effects of Organizing Thai Reading Activities by Using SQP2RS Strategy on Reading Comprehension and Literature Responding Abilities of Eighth Grade Students. (Master’s thesis Curriculum and Instruction). Chulalongkorn University. Bangkok, Thailand.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.
Viriyaphant, T. (2008). Human relations with Management. (5th ed.). Bangkok: Duangkamolsamai.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Taweerat, P. (2000). Reserch Methods in Behavioral Sciences and Social
Sciences. (7th ed.). Bangkok: Srinakharinwirot University Press.
Echevarria, J., Vogt, M. &Short, D. J. (2010). Making content comprehensible for secondary English learners: The SIOP model. Boston: Allyn and Bacon.
Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (1987). Joining together: Group theory and group skills. (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ, US: Prentice-Hall, Inc.
Rae Balog. (2015). Fostering Academic and Language Development of ELLs and Heritage Learners through the SIOP Model. (Master’s thesis Curriculum and Instruction). Duquesne University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย