การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

ผู้แต่ง

  • ชญานิศก์ เปลี่ยนดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนขนาดเล็ก, ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก และ3) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนใน จำนวน 62 โรงเรียน ประชากรทั้งหมด 294 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และค่า F-test ความแปรปรวนทางเดียว One Way ANOVA  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบ พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรคในการบริหารงานบุคคล พบว่า การวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาและบรรจุแต่งตั้งยังมีความไม่เหมาะสมกับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเกิดจากระเบียบข้อบังคับที่กำหนดอัตราเด็กต่อจำนวนครูที่ต้องสอดคล้องกัน จึงทำให้ครูผู้สอนมีจำนวนน้อยกว่ารายวิชาที่ต้องรับผิดชอบ และครูบางท่านต้องรับผิดชอบในรายวิชาที่ไม่ตรงกับความชำนาญ แนวทางในการบริหารงานบุคคล พบว่า ควรให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการสรรหาบุคลากรเพื่อเข้ารับราชการในสถานศึกษา จัดสรรอัตราครูให้เหมาะสมกับภาระงานที่สอนตรงกับวิชาเอก มีการคัดเลือกบุคลากรจากท้องถิ่นให้กับสถานศึกษา และควรจัดโครงการ กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นข้าราชการของครู

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Ministry of Education. (2003). A handbook for the administration of a basic educational institution that is a juristic person, Bangkok: Printing House, Transportation Organization.
ทวี วาจาสัตย์. (2561). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 394 – 410.
Thaweewajasat. (2018). Development of Quality of Education in Small Schools Under the area office Primary education in Pathum Thani. Mahachulalongkornrathana Journal, 5 (2), 394 - 410.
เทพรัตน์ ดาวเรือง. (2560). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอยะหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
Thepparat Daorueng. (2017). Personnel management of educational institutions administrators in Yaha district. Under the Office of Yala Primary Educational Service Area 2. Master's thesis. Yala Rajabhat University.
ปาริชาติ สติภา. (2558). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
Parichat Satipa. (2015). Personnel management of educational institutions. According to the opinions of the school administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office 5. Master's Thesis, Thepsatri Rajabhat University.
มยุรฉัตร เงินทอง. (2558).การศึกษาปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. การประชุมสัมมนาวิชาการและ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 3 งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น.
Mayurachat Ngernthong. (2015). The study of small school management problems. Under office Phitsanulok Primary Educational Service Area 3. Academic seminars and To present research results from national level, network of graduate studies The 16th Northern Rajabhat University and the 3rd Phetchabun Rajabhat University National Academic Conference, Local Development Research.
รณกฤต รินทชัย. (2552). การศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Kritarinthachai. (2009). A study of the problem of personnel management in schools under Secondary Education Service Area Office 26. Master of Education Thesis Educational Administration Program Rajabhat Maha Sarakham University.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (2562). ข้อมูลสถานศึกษา ครู และนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (เอกสารอัดสำเนา)
Phitsanulok Primary Educational Service Area Office, District 1. (2019). Information of educational institutions, teachers and students, Phitsanulok Primary Educational Service Area Office, District 1. (Copy document)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
Office of the Basic Education Commission (2003). Handbook of basic educational institution administration as a juristic person. Bangkok: The Transportation Organization of Thailand (RPC).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Office of the Education Council Secretariat (2010). School administration. Bangkok: The Teachers Council of Ladprao Printing House.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Sunanta Laohannan. (1999). Human Resource Management. Bangkok: Bansomdejchaopraya Rajabhat Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย