กระบวนการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ไข่ทองเค็ม ในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณัฐกิจ จูวรกุล พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร
  • อุบล วุฒิพรโสภณ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์, พัฒนาผลิตภัณฑ์, สร้างเครือข่าย, เศรษฐกิจชุมชน, ไข่ทองเค็ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิด ได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ สร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน และสร้างเครือข่ายส่งเสริมเศรษฐกิจเป็นกรอบการวิจัย ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน และทำการสนทนากลุ่มเฉพาะจำวน 10 คน ได้ทำการวิเคราะห์สรุปข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า นำเสนอข้อมูลแบบอรรถาธิบายพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ไข่ทองเค็มของชุมชนยายชา จากการศึกษาพบว่า เดิมชุมชนมีวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน มีผู้หญิงชื่อ “ชา” หรือ “ยายชา” ได้บริจาคที่ดินสร้างวัด และสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ นำความเจริญมาสุ่ชุมชน ชาวบ้านจึงเรียกชุมชนนั้นว่า “ชุมชนยายชา” ดังนั้น ในการร่วมกันพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ชุมชนจึงได้ร่วมกันพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ คือ รูปยายใส่หมวกงอบเป็นสัญญาลักษณ์แทนชุมชนยายชา สีหน้ายิ้มมีความสุข และในมือถือไข่เค็มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  2.  การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ไข่ทองเค็มของชุมชนยายชานั้นแต่เดิมมีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการทำไข่เค็มที่เหมือนท้องตลาดทั่วไปจึงทำให้ไม่เป็นที่น่าสนใจ ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และสัญญาลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ชุมชนยายชา โดยการออกแบบคำนึกถึงการใช้งานที่แข็งแรงทนทานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างแรงจูงใจต่อผู้บริโภคให้เกิดการต่อยอดทางเศรษฐกิจในชุมชน อีกทั้งแปรรูปไข่เป็ดให้เป็นสีทองเหลืองอร่ามโดยการใช้ขมิ้นที่ได้จากธรรมชาติ และตั้งชื่อใหม่ว่า “ไข่ทองเค็ม ยายชา”
  3. การสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มแปรผลิตภัณฑ์ไข่ทองเค็มของชุมชนยายชามีหลักการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2 กลุ่มดังนี้ 1) เครือข่ายภายในชุมชนอันประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบ (2) กลุ่มผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ (3) กลุ่มผู้บริโภค (4) กลุ่มผู้จำหน่าย และ 2) เครือข่ายภายนอกชุมชนที่ประกอบด้วย (1) กลุ่มส่งเสริมวัตถุดิบ (2) กลุ่มส่งเสริมจำหน่าย (3) กลุ่มผู้บริโภค โดยการสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจร่วมกัน

References

พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิตปิสิทธกิร), ดร.. แนวคิดพื้นฐานเพื่อการบริหารและพัฒนา. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๒.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิตปิสิทธกิร), ดร.(และ นายสัญญา สดประเสริฐ). “การสร้างเครือข่ายจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชน และความเป็นเมืองเชิงพุทธ ในจังหวัดนครปฐม”, รายงานวิจัย, (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี, ๒๕๖๐), หน้า ๗๙.
องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา, “ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา”, แผน
พัฒนาท้องถิ่น ๔ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔) ขององค์การบริหารส่วนตำบลยายชา อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม, (เอกสารอัดสำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย