การสร้างความปรองดองสมานฉันท์สำหรับเยาวชนไทยโดยใช้หลักบวร: บ้าน วัด โรงเรียน

ผู้แต่ง

  • ชญาดา เข็มเพชร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ปรองดองสมานฉันท์, บวร, เยาวชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสร้างความปรองดองสมานฉันท์สำหรับเยาวชนไทย 2) พัฒนารูปแบบการสร้างความปรองดองสมานฉันท์สำหรับเยาวชนไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการสร้างความปรองดองสมานฉันท์สำหรับเยาวชนไทย โดยใช้หลักบวร: บ้าน วัด โรงเรียน ประชากรคือ เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ “บวร” ร่วมใจสร้างชุมชนคุณธรรม จำนวน 30,800 คนจากทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งกลุ่มจาก กอ.รมน.ภาค 1-4 รวมจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 รูป/คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า

               1) การสร้างความปรองดองสมานฉันท์สำหรับเยาวชนไทยที่เหมาะสม คือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อใหม่ และกิจกรรมการจัดค่าย

               2) รูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วย การอบรมเรื่อง “บวร” กับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยด้วยหลักศีล 5, กิจกรรมธรรมะแรลลี่, กิจกรรมจิตอาสา, กิจกรรมสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมจุดเทียนแห่งปัญญา พิธีต้อนรับชาวค่าย และพิธีอำลาชาวค่าย

               3) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรม พบว่า เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องร้อยละ 80 และมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องร้อยละ 20 ทัศนคติภาพรวมอยู่ใน “ระดับสูง” ด้านบวกที่มีระดับดีที่สุด คือ การคืนเงินให้แก่พ่อค้าที่ทอนเงินเกินเป็นการกระทำที่ถูกต้อง ด้านลบที่ไม่ควรประพฤติมากที่สุด คือ การดื่มเหล้า เบียร์ เวลามีงานเลี้ยง พฤติกรรมความปรองดองสมานฉันท์ อยู่ใน “ระดับสูง” และพฤติกรรมจากการสังเกตอยู่ที่ “ระดับมาก” ทุกพฤติกรรม

 

 

 

References

กันยารัตน์ แย้มศรีแก้ว. (2558). การบริหารจัดการความร่วมมือของ บ้าน วัด โรงเรียน. (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ขวัญดิน สิงห์คำ. (2556). บูรณาการ วัด บ้าน โรงเรียน ศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1), 21-30.
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์. (2561). พุทธวิธีเชิงบูรณาการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการเมืองไทยปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 14(2), 66-78.
โคทม อารียา. (2558). การปรองดองในสังคมประชาธิปไตยไทย. ใน KPI YEARBOOK 2558: ดุลอำนาจในการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2541). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่: ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.
นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปีการศึกษา 2557. (2557). รักผูกพัน สมานฉันท์ด้วยเบญจศีล: ศึกษาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 6 สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า. (2559). สันติสุขเกิดขึ้นได้ ภายใต้ความแตกต่าง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580), (2562, 18 เมษายน), ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 51 ก. หน้า 8.
พระธรรมกิตติวงศ์. (2546). รายงานการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม: บูรณาการระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อำนวย เถาตระกูล และคณะ. (2562). รายงานการประเมินวิเคราะห์ปัจจัยแนวโน้มของปัญหาที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง: โครงการสำรวจทัศนคติของประชาชน ภายใต้โครงการสร้างความรักความปรองดองในสังคม ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
Barry Buzan, Ole Waever and Jaap de Wilde. (1998). Security: A New Framework for Analysis. Colorado: Lynne Rienner Pub.
William L. Ury. (2000). The Third Side: Why We Fight and How We Can Stop. New York: Penguin Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย