การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้นด้วยชุดแบบฝึกหัดแซ็กโซโฟนเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พิจักษณ์ ถาวรานุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโฒน
  • ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์

คำสำคัญ:

ชุดแบบฝึกหัดแซ็กโซโฟนเบื้องต้น, นักเรียน, แบบฝึกหัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกหัดในการเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้นของนักเรียนวงโยธวาทิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย           2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดในการเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้นของนักเรียน                    วงโยธวาทิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประชากร คือ นักเรียนวงโยธวาฑิตโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เครื่องมือแซ็กโซโฟน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดแบบฝึกหัดในการเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้นและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเป่าแซ็กโซโฟน 2) แบบวัดความพึงพอใจของชุดแบบฝึกหัดแซ็กโซโฟนเบื้องต้นสำหรับนักเรียน วงโยธวาฑิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ในการเป่าแซ็กโซโฟนของนักเรียนนั้นดีขึ้น พบว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 46.00 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนอยู่ที่ 65.20 ซึ่งเมื่อนำคะแนนก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบกันพบว่า มีค่า t เท่ากับ 7.19 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเป่าแซ็กโซโฟน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกหัดแซ็กโซโฟนเบื้องต้นสำหรับนักเรียนวงโยธวาทิตโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยของนักเรียนวงโยธวาทิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผลรวมของแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด 

References

กรรณิการ์ พวงเกษม. (2540). เรียนรู้กับการสร้างแบบฝึกภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สัมมนาประถมศึกษา.
กุศยา แสงเดช. (2545). แบบฝึกคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
ไขแสง ศุขะวัฒนะ, (2535). สังคีตนิยมว่าด้วย : ดนตรีตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริยภรณ์ รุจิโมระ. (2548). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปี ที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่. (ปริญญานิพนธ์มหาบันฑิต). วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่, เชียงใหม่.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2538). พฤติกรรมการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2549). จากประสบการณ์ครูดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐ เชียงทอง. (2555, กรกฎาคม - ธันวาคม). แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านโน้ตแรกเห็นแบมีดนตรีประกอบสำหรับกีต้าร์คลาสสิกในระดับชั้นต้น วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4, 115 - 136.
เตือนใจ ตรีเนตร. (2544). ผลการใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องพื้นที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ธัญชนา ชัยวิรัตน์. (2559). การพัฒนาชุดการสอนคีบอร์ด (เปียโน) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาดนตรี วิชาโทเปียโน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดการสอนคีบอร์ด (เปียโน) สำหรับนักศึกษาวิชาโทเปียโน มหาวิทยาลัยลำปาง. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ศิริพงศ์ สมบูรณ์. (2558). การสร้างแบบฝึกหัดการแก้ไขปัญหาการตัดลิ้นและการกดนิ้วที่ไม่สัมพันธ์กันของการเล่นคลาริเน็ต กรณีศึกษา : เพลง A MIDSUMMER NIGTH’S
Woodwinds-Brass-Articles. (2562). ประวัติแซ็กโซโฟน. สืบค้นจากhttps://www.wwbw.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย