การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา สามาอาพัฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทย, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

 

           บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความรู้ครูผู้สอนเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus ก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้    2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนของครูด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus ตามเกณฑ์  75% 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แลนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้มาจากการวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 ชนิด ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบสังเกต 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5) แผนการจัดการเรียนรู้ 6) แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ครูผู้สอนมีพัฒนาการความรู้เกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus สูงกว่าก่อนการสร้างชุมชนการเรียนรู้
  2. ครูมีความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus อยู่ในระดับดีมาก
  3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 80.85
  4. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus อยู่ในระดับมากที่สุด

          การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาเป็นแนวทางในการพัฒนาครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกัลยาณมิตร และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันระหว่างครูผู้สอน อันจะนำไปสู่การพัฒนาครู และพัฒนาผู้เรียน ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสิ่งที่อ่านเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติกาญน์ อินทเกตุ. (2557). การพัฒนาความสารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH-PLUS. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2558). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ใน
สถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎี บัณฑิต สาขาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรัญญา แสงวิจิตร. (2556). ผลการใช้แบบจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus a โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดกำแพงแสนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน สาขาวิชาและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธีSQ3R. กรุงเทพฯ: สุวีริยา สาส์น.
S.M. Hord. (1997). Professional Learninng Communities: Communnities of Innquiry and Improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratary.
Sir Francis Bacon. (1976). Reading. In the Home Book of Quatattion Classical and Modern.
Willerman, M.,McNeely, S.L., and Koffman, E.C. (1991). Teacers helping teachers, peer observation and assistance. New York: Praeger Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย