การสร้างแบบฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่กรณีศึกษา : ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล เลิศวิริยะปิติ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ
  • ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, ฆ้องวงใหญ่, , สำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างแบบฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่กรณีศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์ที่มีประสิทธิภาพ 80/80  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ฝึกด้วยแบบฝึกทักษะ มีรูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงผสมผสานโดยการศึกษาข้อมูลการถ่ายทอดวิธีการตีฆ้องวงใหญ่ของสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องของจังหวัดปทุมธานี จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดสร้างแบบฝึกทักษะตามแนวคิดของสุนันทา สุนทรประเสริฐ  และหาประสิทธิภาพตามทฤษฎีของศ.ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือบุตรครูถวิล อรรถกฤษณ์จำนวน 2 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เป็นสามาชิกชุมนุมดนตรีไทยและมีทักษะการตีฆ้องวงใหญ่โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม จังหวัดปทุมธานีจำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการศึกษาสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์  2) แบบวัดและประเมินผลการตีฆ้องวงใหญ่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์พบว่าสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์มีกระบวนการฝึกการตีฆ้องวงใหญ่แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการด้วยกันดังนี้ 1. กระบวนการฝึกตีฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐาน 2. กระบวนการถ่ายทอดเพลง จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยได้สร้างแบบฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่จากองค์ความรู้สำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.46/81.96

             2) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ฝึกด้วยแบบฝึกทักษะ พบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 อยู่ในระดับดีมาก

            ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนสามารถทำให้การจัดการเรียนการสอนออกมามีประสิทธิภาพและยังทำให้นักเรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองและถือเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของไทยให้สืบไป

References

จันทนา คชประเสริฐ. (2542). การสร้างชุดการสอนฝึกปฏิบัติขับร้องเพลงพื้นเมืองภาคกลาง เรื่องเพลง เทพทอง สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556, มกราคม-มิถุนายน). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-19. สืบค้นจาก http://www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
ดวงใจ พัฒนไชย. (2541). ผลการใช้ชุดการสอนวิชาดนตรี เรื่องโน้ตสากลเบื้องต้นต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนแตกต่างกัน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
ประเวศ วะสี. (2536). การศึกษาของชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ๊งกรุ๊ป.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2559).เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลักขณา สริวัฒน์. (2530). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ สนใจ. (2542). การพัฒนาชุดการสอนการอ่านและร้องโน้ตสากลในรายวิชา ดส.1114 คีตศิลป สากล 2 ในวิทยาลัยนาฏศิลป. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
สุกรี เจริญสุข. (2540, กรกฎาคม-ตุลาคม). การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ : ดนตรี ศิลปะ และกีฬา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(1), 61-66.
สุกิจ ลัดดากลม. (2554). ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. การวิจัยทางการศึกษาแนวคิดและการประยุกต์ใช้.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุชาติ ตันธนะเดชา. (2532). ความถนัดทางดนตรี : มีมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากสภาพแวดล้อม. วารสาร ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 18 (1-2), 187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย