การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ ด้วยกระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • สิริรักษ์ ฟูเฟื่อง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิชฌน์เศก ย่านเดิม

คำสำคัญ:

กระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, วัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลัง
เรียน เรื่องวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ ด้วยกระบวนการตามแนวคิดของจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มี
ต่อการเรียน เรื่องวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ ด้วยกระบวนการตามแนวคิดของจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม มีรูปแบบการวิจัยเป็นวิจัย
เชิงทดลอง ภายใต้กรอบแนวคิดของแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2563 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
ด้วยการจับสลากมา 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน จากห้องเรียนทั้งหมด 21 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะพื้นฐาน 1 เรื่องวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ ด้วย
กระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
ธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวัฒนธรรมปี่พาทย์
มอญ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน เรื่องวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาแบบ
ร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามที่สมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) นักเรียน
ที่เรียนด้วยกระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ กระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมดนตรีปี่พาทย์
มอญอันเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ปลูกฝังให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ และเป็นฐานของวิธีคิดและจุด
รวมของจิตสำนึกในทุกระดับได้

References

Slavin Robert E. (1 9 8 7 ) . Cooperative Learning and Cooperative School. Education
Leadership., 45(3), 7-13.
เจริญขวัญ นำพา. (2554). ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการเชื่อมโยง และความสุขในการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ชลลดา ทองทวี. (2551). จิตตปัญญาพฤกษา: การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษา
เบื้องต้น. โครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล., 4(2), 3.
ประเวศ วะสี. (2537). วัฒนธรรมกับการพัฒนา: กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ.
พาสนา จุลรัตน์. (2553). รานงายการวิจัยเรื่องผลกระทบกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญา
ศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสุขในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ.
สิริธร ยิ้มประเสริฐ. (2563) การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมจิต
สาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1): กรุงเทพฯ : สำนักงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย