การพัฒนาความสามารถในการอ่านวิเคราะห์และการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร สายกฤษณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อธิกมาส มากจุ้ย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การอ่านวิเคราะห์, การเขียนสรุปความ, กลวิธี REAP, เทคนิคการใช้ผังกราฟิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสถาพรวิทยา จังหวัดนครปฐม ที่กำลังศึกษา
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก เรื่องการอ่านวิเคราะห์และการเขียนสรุปความ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านวิเคราะห์
แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสรุปความ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent)

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิค
การใช้ผังกราฟิก หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

References

ภาษาไทย
กมลพัทธ์ โพธิ์ทอง. (2554). “ผลของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2548). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย จำกัด.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ อารยา หุตินทะ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการศึกษา. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพียรศิลป์ ปินชัย. (2555). “การใช้กลวิธีการอ่านแบบ อาร์อีเอพี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ และทักษะคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วลัย พานิช. (2556). แผนผังกราฟิกกับการเรียนการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลวรรณ อุ่นจันทร์. (2553). “การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
ผังกราฟิก.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ
การสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัตรา มูลละออง. (2557). “การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
อัจฉรา ปานรอด. (2555). “ผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยการเชื่อมโยงแผนผัง
มโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
Amaliatul Khoiriyah. (2017). “The Effectiveness of Read, Encode, Annotate,
Ponder (REAP) Strategy Toward Student’s Reading Comprehension
on Exposition Text (An Experimental Research at the Eleventh
Grade Students of MA Mathla’ul Anwar Menes Center in the
Academic Year of 2016/2017).”Education and Teacher Training
Sultan Maulana Hasanuddin Banten.
Eanet, M.G. and Manzo, A.V.(1976).“REAP – strategy for improving
reading/writing/study skills.” Journal of Reading 19, 8 (May): 647
– 652.
Manzo, A., Manzo, U., & Albee, J. (2002). “iREAP : Improving reading, writing,
and thinking in the wired classroom.” Journal of Adolescent &
Adult Literacy 46, 1: 42.
Praveen, Sam D., and Premalatha Rajan. (2013). “Using Graphic Organizers to
Improve Reading Comprehension Skills for the Middle School ESL
Students.” English Language Teaching 6, no. 2: 155-170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย