การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูโสภณวีรานุวัตร
  • พระครูใบฎีกาศักดิ์ดนัย
  • เอกมงคล เพ็ชรวงษ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้, มีส่วนร่วม, อนุรักษ์พันธุ์กล้วย

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย  2) กลยุทธ์การตลาดด้านบริการที่มีผลต่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยให้มีมาตรฐานคุณภาพ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดด้านบริการกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 327 ชุด และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1 ) กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.26 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพทั่วไปของศูนย์ฯมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.37  2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อกลยุทธ์การตลาดด้านบริการการพัฒนาศูนย์ฯ ให้มีมาตรฐานคุณภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.25 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนาด้านภาพลักษณ์และการนำเสนอลักษณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุดเท่ากับ 4.35 และ 3)     ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดด้านบริการกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย มีระดับความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย โดยมี่ค่า r เท่ากับ 0.443  มีค่า Sig  < 0.05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สามารถอธิบายได้ว่า กลยุทธ์การตลาดด้านการบริการส่งผลให้การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรีมีมาตรฐานคุณภาพ

ผลสรุปจากการประชุมกลุ่ม (Focus Group) เสนอแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรีให้มีมาตรฐานคุณภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ผลิตให้สอดคล้องกับความจำเป็น มีคุณค่าจริง ราคาไม่สูงมากนัก มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการประชาสัมพันธ์หลายช่องทาง มีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้เรื่องการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มที่นั่ง เพิ่มห้องน้ำ สำหรับผู้สูงวัย และคนพิการ รวมทั้งให้การต้อนรับอย่างกัลยาณมิตร มีระบบเทคโนโลยีและมีพื้นที่รองรับผู้มาเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ อย่างพอเพียง

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. ระเบียบวิธีสถิติทางการศึกษา. (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558).
ภัทราพร อาวัชนาการ, ปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558 :
ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์และคณะ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, โครงการ “การยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรรายย่อย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง, 2560
กรมการท่องเที่ยว. คู่มือการประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. (สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.2553),
ขนิษฐา นันทบุตร. บทสังเคราะห์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาระบบการทำงานของผู้ดูแล. สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบบริการการพยาบาล, สภาการพยาบาล, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2551.
นิคม วงศ์นันตา, วิทยา เจริญอรุณรัตน์, รายงานผลโครงการวิชาการ เรื่องเรียนรู้การอนุรักษ์?และรวบรวมพันธุ์กล้วย, สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2557,.
สุพรรณี ไชยอําพร, คมพล สุวรรณกูฏ, รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาศูนย์การเรียนรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการระดับชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแม่ระกา ตำบลแม่ระกา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก,2550 .
ฬิฏา สมบูรณ์, วิจัยเชิงปฏิบัติการ(4) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www. gotoknow. org/posts/34875 สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย