การพัฒนามาตรการทางกฎหมายการเลือกตั้งสำหรับผู้ต้องขัง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การเลือกตั้ง, ผู้ต้องขังบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การพัฒนามาตรการการเลือกตั้งสำหรับผู้ต้องขัง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สิทธิเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้ต้องขัง เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการรับรองสิทธิในการเลือกตั้ง เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยห้ามมิให้ผู้ต้องขังเลือกตั้ง อาจมาจากสาเหตุหลายประการ อาทิ เช่น ผู้ต้องขังถือว่าเป็นบุคคลที่กระทำความผิด อีกทั้งหากมีการจัดการเลือกตั้งอาจก่อให้เกิดควาไม่ปลอดภัย จากการศึกษา การให้สิทธิผู้ต้องขังสามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่งผลให้นักโทษมีโอกาสพัฒนาตัวเองให้เป็นคนดี ช่วยพัฒนาประเทศในการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่การให้สิทธิเลือกตั้งแก่ผู้ต้องขังอนุญาตเฉพาะผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งศาลไม่ได้ตัดสินว่ามีความผิด รวมทั้งกระบวนการเลือกตั้งจำเป็นต้องมีรูปแบบพิเศษ เนื่องจาก ผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีการกระทำความผิด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างที่มีการเลือกตั้งต้องหาวิธีการให้นักการเมืองหาเสียง อาจใช้วิธีผ่านวีดีโอ แผ่นพับ ป้ายหาเสียง รวมทั้งการจัดตั้งสถานที่ในการเลือกตั้งที่เหมาะสมในเรือนจำ ต้องคำนึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาจัดการเลือกตั้ง ดังนั้น การพัฒนามาตรการการเลือกตั้งสำหรับผู้ต้องขังควรมีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมดังนี้
- ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 โดยห้ามมิให้บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุดและหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วยมีสิทธิเลือกตั้ง
- ควรเพิ่มเติมรูปแบบการเลือกตั้งสำหรับผู้ต้องขังที่มีสิทธิเลือกตั้งในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
References
ปีที่พิมพ์.
จรัญ โฆษณานันท์. 2559. สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน ปรัชญา กฎหมายและความเป็นจริงทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. 2554. กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นพนิธิ สุริยะ. 2559. สิทธิมนุษยชน: แนวคิดการคุ้มครอง. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. 2560. กฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. 2558. หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
_______. 2553. หลักพื้นฐานของสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.กรุงเทพมหานคร:สถาบันพระปกเกล้า.
_______. 2552. สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 : หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาคและหน้าที่ของ
ชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ.นนทบุรี : วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. 2542. การเลือกตั้งและพรรคการเมือง: บทเรียนจากเยอรมัน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.
_______. 2563. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีดี เกษมทรัพย์. 2559. นิติปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. 2561. สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
อุดม รัฐอมฤต. 2544. การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นานาสิ่งพิมพ์.
Chan kin sum. (2009). Consultation Document on Prisoners’ Voting Right [Electronic version].
http://www.cmab.gov.hk/doc/en/documents/Final_Consultation_Document_e.pdf. [2019, December 15]
Davidson J., Inside outcasts: Prisoners and the Right to vote in Australia [online], 2004.
Available: http://www.aph.gov.au/library/pubs/CIB/2003-04/04cib12.pdf ,[2013, March 10]
Hill L. and Koch C.. (2011). The voting rights of incarcerated Australian citizens. [Electronic version]. Australian journal of political science,
46(2): 213-228.
Ispahani L. 2009. “Voting Rights and Human Rights : A comparative Analysis of Criminal Disenfranchisement Laws,” in Criminal
disenfranchisement in an international perspective, Ewala A. and Rottinghaus B. New York : Cambridge University Press.
Leila M. Implementation of right to vote of persons deprived of their liberty [online].
2009.Available:http://www.chr.gov.ph/MAIN%20PAGES/about%20hr/position%20pape
rs/pdf/Right%20To%20Vote.pdf.,[2019, June 8]
Rosanna M. (2003). “DEFYING ONE-PERSON, ONE-VOTE: PRISONERS AND THE
PRINCIPLE.” [Electronic version]. University of Pennsylvania Law Review, 152: 431-462.
Schafer A. The struggle for prisoners’ right to vote [online], 2010. Available:
http://umanitoba.ca/faculties/arts/departments/philosophy/ethics/media/Ballots_Behind_Bars.pdf. [2019, June 8]