การสื่อสารการเมืองเพ่ื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • กฤติยา รุจิโชค มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง ภาพลักษณ์รัฐบาล สื่อดิจิทัล การจัดการการสื่อสาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ/การวิจัยเชิงคุณภาพ) ใช้ทฤษฎีการสื่อสารการเมืองเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ หน่วยงานและองค์กรประชาสัมพันธ์ของรัฐ กลุ่มตัวอย่าง คือ ระดับบริหารหน่วยงานประชาสัมพันธ์หรือองค์กรประชาสัมพันธ์ของรัฐ จำนวน 222 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่ายสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณและการเลือกแบบเจาะจงในการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐานในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณคือ ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา) ผลการวิจัยพบว่า

          ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การสื่อสารการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลมีรูปแบบการสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสื่อดิจิทัล รูปแบบการสร้างเนื้อหาเป็นไปตามคุณภาพของสื่อดิจิทัลมีทั้งการสร้างเนื้อหา ภาพ วีดีโอ กราฟฟิก โดยมีหน่วยงานและองค์กรประชาสัมพันธ์รัฐทำหน้าที่ดูแลภาพลักษณ์ของรัฐบาลร่วมกับฝ่ายประชาสัมพันธ์ของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลและเป็นไปตามนโยบายประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลและพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล

          ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยที่สนับสนุนต่อการจัดการสื่อสารทางการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัลคือ การวางแผนการสื่อสารทางการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล นโยบายการสื่อสารทางการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล  การจัดการการสื่อสารทางการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล  

          องค์ความรู้จากงานวิจัยคือ ปัจจัยที่สนับสนุนการสื่อสารการเมืองและรูปแบบการสื่อสารการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัลซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและองค์กรประชาสัมพันธ์ภาครัฐ

References

คำสั่งจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย