มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
ความโปร่งใส, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การส่งเสริมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์สืบค้นมาตรการส่งเสริมความโปร่งใสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ความโปร่งด้านสภาท้องถิ่น ความโปร่งด้านการเปิดเผย เผยแพร่ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความโปร่งใสด้านการจัดทำแผนงานโครงการ ความโปร่งใสด้านการประเมินผลและการตรวจสอบ ความโปร่งใสด้านการบริหารกิจการ และหลักธรรมที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสยิ่งขึ้นคือ หิริ การละอายต่อบาป การเกรงกลัวต่อความทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตทางใจที่เริ่มจากการคิดและมุ่งหวังจะคดโกงหรือคอร์รัปชันหรือบิดเบือนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตัวเองปรารถนา โอตตัปปะ การเกรงกลัวต่อผลของบาปที่จะเกิดขึ้นตามมา เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความโปร่งใสยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิตของประชาชน
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น : ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. (พิมครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา.
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม. (2552). สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.
สถาบันพระปกเกล้า. (2551). ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.
สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2562). คู่มือการประเมิน TA 2562 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. แหล่งที่มา: file:///C:/Users/HP/Downloads/202562.pdf. [25 กรกฎาคม 2563]
อรทัย ก๊กผล. (2547). ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. รายงานการวิจัย. TDRI ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน ก.พ.