ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ติน ปรัชญพฤทธิ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานครและ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบโครงสร้างประสิทธิผลการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานครประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงาน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานครประชากรที่เลือกใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน1,500 คน แบบเจาะจงเป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเครื่องมือที่ใช้เลือกในการวิจัยการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล (Lisrel Model)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) ระดับประสิทธิผลการบริหารงบประมาณ ด้านหลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรมอยู่ในระดับมากและการบริหารงบประมาณด้านกลยุทธ์ขององค์การ โครงสร้างองค์กร ระบบการปฏิบัติงาน ทักษะ รูปแบบการบริหารจัดการและด้านค่านิยมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณพบโมเดลประสิทธิผลการบริหารงบประมาณด้านหลักความโปร่งใสมีค่ามากที่สุด รองลงมา ด้านหลักนิติธรรม หลักคุณธรรมมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุดและปัจจัยที่ส่งผลการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลพบว่าโมเดลการบริหารงบประมาณด้านโครงสร้างขององค์กรมากที่สุด รองลงมาด้านกลยุทธ์องค์กร และด้านทักษะมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุด 3) รูปแบบโครงสร้างประสิทธิผลการบริหารงบประมาณมีความสัมพันธ์ทางบวก โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณด้านกลยุทธ์ขององค์กร ด้านโครงสร้างขององค์กร ด้านระบบการปฏิบัติงาน ด้านทักษะ ด้านรูปแบบการบริหารจัดการและด้านค่านิยมส่งผลต่อการบริหารงบประมาณ ด้านกลยุทธ์องค์กร โครงสร้างองค์กร รูปแบบการบริหารจัดการ ด้านระบบการปฏิบัติงาน ทักษะ และด้านค่านิยม

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). รายงานการวิจัยประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิสเตอร์ก็อบปี้.
owit Puangngam. (2006). Research report assessing local administrative organizations with excellence in transparency and public participation. Bangkok: Mr Copy Shop.
กิตติมา แก้วกิตติ. (2557). ปัญหาในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kittima Kaewkitti. (2014). Problems in budgeting of Roi Et Provincial Administrative Organization. Master Degree of Public Administration Public Policy Department Mahasarakham University.
เกรียงไกร สุราอามาตย์. (2550). ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kriangkrai Suramat. (2007). Problems and Obstacles in Expenditure Management of Subdistrict Administration Organizations in Mueang District, Roi Et Province. Independent study, Master of Arts in Political Science Department of Local Administration Khon Kaen University.
ชลนิภา รัตตะเวทิน. (2557). ปัญหาการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Chonnipharat Tawin. (2014). Budgeting Problems of Subdistrict Administration Organization in Yang Talad District, Kalasin Province. Master of Science Program Public Policy Department Mahasarakham University.
ชัยสิทธิ์ หมายสุข. (2555). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญา
Chaiyasit Laemsuk. (2012). Performance Performance of Village and Urban Community Funds: A Case Study of Urban Areas of Bangkok Metropolis. PhD
ศิริพงษ์ มุขศรี. (2540). การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Siriphong Muksri. (1997). Operation of Subdistrict Administration Organization in Sakon Nakhon Province. Master of Education Thesis Thai Studies Program Mahasarakham University.
ประภัสสร ศิริแสงชัยกุล. (2541). องค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาวะวิกฤติ : ศึกษาเฉพาะการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Praphatson Sirisaengchaikun (1998). Provincial Administrative Organization in Crisis: A Case Study of Budget Administration of Khon Kaen Provincial Administrative Organization. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย