กระบวนทัศน์ใหม่กับการจัดการท้องถิ่นของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จักรินทร์ ภูเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุภาวิณี กองแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธนัสถา โรจนตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์ใหม่, การจัดการ, ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การพัฒนาของการบริหารจัดการท้องถิ่นในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบใหม่และแนวคิดการจัดการปกครอง แนวโน้มการจัดการท้องถิ่นของไทยที่ได้รับผลจากแนวคิดดังกล่าว ทำให้เริ่มมีการนำแนวทางการบริหารจัดการแบบใหม่มาใช้ โดยที่ไม่ยึดโยงอยู่กับระบบราชการมากจนเกินไป พยายามลดข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน เน้นการสร้างความร่วมมือ การเป็นหุ้นส่วน พันธมิตร และความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายกับหน่วยงานที่จะมีพันธกิจร่วมกัน องค์กรปกครองท้องถิ่นไทยเริ่มมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการที่เคยเป็นผู้จัดทำบริการสาธารณะด้วยตนเอง มาเป็นผู้จัดหาหรือผู้จัดซื้อการบริการดังกล่าวให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). การแกครองท้องถิ่นว่าด้วย ทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

จุมพล หนิมพานิช. (2553). บริหารจัดการภาครัฐใหม่: หลักการ การแนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงใหม่). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,

บูฆอรี ยีหมะ. (2551). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดม ทุมโฆสิต. (2548). การกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ของไทยบทเรียนจากปัญหา แนวคิด และยุทธศาสตร์ใหม่เพื่ออนาคต. 50 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สยามทองกิจ.

Shah, A. (2006). A Comparative Institutional Framework for Responsive, Responsible, and Accountable Local Governance. Local Governance in Industrial Countries. Shah, A., ed. Washington, D. C.: The World Bank.

United Nations Publication. Weber, M. (1984). Bureaucracy.Critical Studies in Organization and Bureaucracy. Fischer, F. and Sirianni, C. eds., Philadelphia: Temple University Press.

Wilson, D. and Game, C. (2002). Local Government in the United Kingdom. (3rd ed.). New York: Palgrave Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ