การจัดการความปลอดภัยจากอาชญากรรมประเภทคดีเกี่ยวกับทรัพย์ของนักศึกษา ที่พักอาศัยอยู่ในหอพักในเขตตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พิตะวัน รัตนพงศ์ คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

การจัดการความปลอดภัย, การป้องกันตนเอง, อาชญากรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การจัดการความปลอดภัยจากอาชญากรรมประเภทคดีเกี่ยวกับทรัพย์ของนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในหอพักในเขตตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมประเภทคดีเกี่ยวกับทรัพย์ของนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในหอพักในเขตตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมประเภทลักทรัพย์ยานพาหนะของนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในหอพักในเขตตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยใช้สถิติ t-test และใช้สถิติ One-way ANOVA

          ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมประเภทคดีเกี่ยวกับทรัพย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ปิดประตูหน้าต่างใส่กลอนและล็อคประตูห้องพัก รองลงมาคือ จดจำรายละเอียด และลักษณะพิเศษของทรัพย์สินที่มีค่าในห้องพัก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ตรวจดูช่องตาแมวก่อนเปิดประตูห้องพัก 2) มีการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมประเภทลักทรัพย์ยานพาหนะในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ไม่จอดยานพาหนะทิ้งไว้ค้างคืนบนถนน รองลงมาคือ ไม่จอดยานพาหนะในที่เปลี่ยวหรือลับตาคน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ตรวจสอบยานพาหนะก่อนออกเดินทาง

References

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2557). ทัศนะของนักศึกษาต่อการจัดบริการหอพักในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นิด้าโพล. (2560). ปัญหาอาชญากรรมของสังคมไทยในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก
http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=556
ประวิทย์ สองแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการโจรกรรมรถจักรยานยนต์และ รถยนต์ในเขตสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี. .การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2531). อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน
จำกัดการพิมพ์พระนคร.
วราภรณ์ เอื้อการณ์ และอิสระ อุดมประเสริฐ. (2553). การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ ซ้ำของผู้โดยสารการบินต้นทุนต่ำ. โครงงานวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
วสันต์พรรษ พรภัทรพงษ์. (2557). การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและผู้พักอาศัยหอพักเอกชน ต่อการ ป้องกันยาเสพติด. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2, หน้า 3-26.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรณ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรม องค์การ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (2561). สถิติอุดมศึกษา ปี การศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก http://www.mua.go.th/assets/img/pdf/stat.pdf
สุนิสา อินอุทัย. (2557). การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมชองประชาชนในเขตพื้นที่ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมชาย นุ่มโต. (2551). บทบาทของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรม ตามความคาดหวังของผู้พักอาศัยใน หมู่บ้านจัดสรรในเขตจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Hentig, Han Von. (1948). The Criminal and His Victim. New Haven: Yale University Press.
Jane Jacobs. (1972). The Death and Life of Great American Cities. 4th ed. Harmondsworth: Penguin Books.
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย