มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิด กรณี การให้สินบน

ผู้แต่ง

  • ศิริพักร์ ฤทธิ์ขันธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

สินบน, ความรับผิดทางอาญา, มาตรการทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาแนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด กรณีการให้สินบน ตลอดจนศึกษามาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดฐานให้สินบนของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ และอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อนำไปวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีการให้สินบนของประเทศไทย ให้สอดคล้องเหมาะสมต่อไป  จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีการให้สินบน ที่สำคัญสามประการ ได้แก่ ประการแรก  ปัญหาเกี่ยวกับองค์ประกอบความผิดฐานให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 และมาตรา 167 ที่ปรากฏช่องว่างทางกฎหมายทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่ครอบคลุม ประการที่สอง ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญา กรณีนิติบุคคลให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มิได้บัญญัติเป็นความผิดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาของไทยซึ่งเป็นกฎหมายที่ประชาชนทั่วไปรับรู้อย่างทั่วถึง และประการที่สาม ปัญหาการกำหนดความรับผิดในทางอาญา กรณีให้สินบนพยาน ที่มิได้บัญญัติเป็นความผิดทางอาญาไว้โดยเฉพาะ

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ชาติ ชัยเดชสุริยะ และณัฏวสา ฉัตรไพฑูรย์. (2548). อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

เกียรติขจร วัจนสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2561). กฎหมายอาญาชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). กฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พรชัย ขันตี, กฤษณพงค์ พูตระกูล และจอมเดช ตรีเมฆ. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชวลิต วงศ์ใหญ่. (2558). การกำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการให้และรับสินบนเจ้าพนักงานของรัฐต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฏฐ์รดา ศรีหล่มสัก. (2553). การกำหนดความผิดเกี่ยวกับสินบนในภาคเอกชนตามอนุสัญญาองค์กรสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรเศรษฐ์ สว่างแจ้ง. (2556). ความรับผิดทางอาญาของผู้บริหารนิติบุคคล : ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2527). ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล : การศึกษาทางกฎหมายเปรียบเทียบโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้อง และคำวินิจฉัยศาลฎีกา. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550. เข้าถึงได้จาก: http://www.deka.supremecourt.or.th.

ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้อง และคำวินิจฉัยศาลฎีกา. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15847/2555. เข้าถึงได้จาก: http://www.deka.supremecourt.or.th.

ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้อง และคำวินิจฉัยศาลฎีกา. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.deka.supremecourt.or.th.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http:// www. royin.go.th/dictionary.

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). อุทธรณ์จำคุก 2 ปี อดีต ผกก.โพธิ์แก้ว! ติดสินบน คดียุบพรรค ทรท. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/579742.

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). 2 อดีตผู้บริหารมิตชูฯ รับสารภาพต่อศาลโตเกียว จ่ายสินบน 11 ล้าน จนท.ไทย. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1455921.

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). คดีทุจริตการเมืองไทย. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1633123.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ส่องตำรวจ: สูญเงินแถมไม่ได้ตำแหน่ง. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/1817086.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). ปิดตำนานฉาว “ครูจอมทรัพย์” ไม่ใช่แค่เปลี่ยนจาก “แพะ” เป็น “แกะ” แต่สร้างหลักฐานเท็จ ติด “คุก” หัวโต”. เข้าถึงได้จาก: https://www.mgronline.com/daily/detail/9620000023277.

ลักษณะและระบบกฎหมาย. เข้าถึงได้จาก: thailaws.com/aboutthailaw/thai_03.htm.

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). บทความน่ารู้: อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption – UNCAC). เข้าถึงได้จาก: http://www.mfa.go.th/acc/th/news/6825/92645.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, นริศรา แดงไผ่, ศิริพร เอี่ยมธงชัย, สุนทร เปลี่ยนสี และนรเศรษฐ์ สว่างแจ้ง. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bribery Act. ( 2010). Available: http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2010/23/contents.

Herring, J. (2004). Criminal law. (4th ed.). London: Palgrave Macmillan Law Masters Press.

Swedish Criminal Code. (Online). Available: https://www.regeringen.se/49bb67/contentassets/ 72026f30527d40189d74aca6690a35d0/the-swedish-penal-code.

Williams, G. (1961). Criminal law: The General Part. (2nd ed.). London: Stevens & sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย