ปัจจัยที่มีทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ไม่สวมหมวกนิรภัยของชาวต่างด้าว กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • จิรภัทร ฉัตรแก้ว โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ดิฐภัทร บวรชัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรม, ความปลอดภัย, หมวกนิรภัย, สมุทรสาคร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการไม่สวมหมวกนิรภัยของชาวต่างด้าว 2) เพื่อศึกษาข้อจำ กัดด้านทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยในการไม่สวมหมวกนิรภัยของชาวต่างด้าว และ 3) ศึกษาแนวทางในการสวมหมวกนิรภัยของชาวต่างด้าว กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการร้านค้า 10 คน และแรงงานต่างด้าว 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ชาวต่างด้าวไม่สวมหมวกนิรภัย ได้แก่พฤติกรรมที่ไม่เคารพกฎหมายและประมาท ไม่เกรงกลัวบทลงโทษ ไม่คำนึงความปลอดภัย ความมักง่าย มีพฤติกรรมเลียนแบบ ในด้านทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยจะไม่สวมหมวก-นิรภัยเนื่องจากมีราคาแพง มีรายได้น้อยและต้องส่งเงินให้ครอบครัวซึ่งมีความสำคัญมากกว่า จึงไม่ซื้อหมวกนิรภัย และเมื่อสวมหมวกนิรภัยแล้วรู้สึกร้อน อึดอัด ผมเสียทรง หมวกสกปรก กลัวสูญหายพกพาลำบาก การขับขี่รถจักรยานยนต์ในระยะทางใกล้ ๆ จะไม่สวมหมวกนิรภัย เพราะเชื่อมั่นในการขับขี่ของตนเอง พบการตั้งด่านตรวจจะหลีบหลีกทันที โดยไม่มีความเกรงกลัวว่าจะถูกตำรวจจับกุมแต่อย่างใด จากการศึกษาจึงมีแนวทางให้ชาวต่างด้าวสวมหมวกนิรภัย คือ 1) ให้ความรู้และจัดกิจกรรมรณรงค์ ให้ชาวต่างด้าวมีส่วนร่วม 2) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ คู่มือ แผ่นพับ สื่อวิดิทัศน์ให้เห็นผลกระทบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ 3) ให้ความรู้ด้านกฎหมายจราจรและข้อบังคับ 4) ภาครัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และ 5) สำรวจการจำหน่ายหมวกนิรภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

References

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ดิสกุล ชลศาลาสินธุ์. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัยโดยทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธวัช เหลือวสุธา. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท คอทโก้ เมททอลเวอร์คส จำกัด จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พินิจ กุลละวณิชย์. (2562). ออนไลน์. ประเทศไทยกับอุบัติเหตุบนท้องถนน. สืบคืนเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562. จาก https://www.naewna.com/lady/columnist/41495.

บุบผา ลาภทวี. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้บาดเจ็บจากการขบขี่รถจักรยานยนต์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 1. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ประสิทธิ์ ไชยชนะ. 2560. การศึกษาความเข้าใจ ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องนอกภาคสาธารณสุขต่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรทางถนนแบบบูรณาการช่วงเทศกาลสงกรานต์ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิไทยโรดส์ และเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน. (2562). อัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไทยโรดส์.

ยุทธนา วรุณปิติกุล และสุพดา เริงจิต. (2550). บันทึกโฉมหน้าอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

ศิริพงษ์ สุภิมารส. (2557). กฎหมายหมวกกันน็อค. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562. จาก

https://web.facebook.com/Tdchelmet/posts/241772712700167/?_rdc=1&_rdr

โศรดา เจริญศักดิ์. (2559). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยของกลุ่ม CBR Club

Chanthaburi. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (2556). หมวกนิรภัย คู่มือความปลอดภัยบนท้องถนน สำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

Chobrod. (2562). ชาวต่างชาติขับรถในไทย มีอะไรบ้างที่ควรรู้และปฏิบัติตาม. สืบค้นเมื่อ

วันที่ 22 กันยายน 2562. จาก https://chobrod.com/tips-car-care/ชาวต่างชาติขับรถใน

ไทย-มีอะไรบ้างที่ควรรู้และปฏิบัติตาม -9305

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย