ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ (Referral System) กรณีศึกษา เฉพาะเขตสุขภาพที่ 6
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย, พนักงานขับรถ, โรงพยาบาลชุมชนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ กรณีศึกษา เฉพาะเขตสุขภาพที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อกับปัจจัยชีวสังคม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเชื่อด้านการขับขี่ปลอดภัยกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชน กรณีศึกษา เฉพาะเขตสุขภาพที่ 6 วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสุขภาพที่ 6 จำนวน โดยใช้วิธีสุ่มจำเพาะพนักงานขับรถยนต์ปฏิบัติหน้าที่ขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ จำนวน 113 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ กรณีศึกษา เฉพาะเขตสุขภาพที่ 6 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ กับ อายุ และประสบการณ์เป็นพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และสถานภาพการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเชื่อด้านการขับขี่ปลอดภัยกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในทิศทางเดียวกัน และ4) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทิศทางเดียวกัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). มาตรการความปลอดภัยรถพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กมลวรรณ บุตรประเสริฐ. (2556). พฤติกรรมการปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ที่ปฏิบัติงานใน ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขจรศักดิ์ จันทร์พาณิชย์. (2552). การประเมินความตระหนักในความปลอดภัยในการเดินทางและการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
นิภา เสียงสืบชาติ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน.โรงพยาบาลเลิดสิน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โศรดา เจริญศักด์.(2559). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยของ กลุ่ม CBR Club Chanthaburi. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรีวัลย์ ใจกล้า. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานบริษัท เอสอีอ อินเตอร์คอนเนคส์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุนทร บุญบำเรอ. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2562) แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Yamane, T. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis.(3rd ed.) New York. Harper and Row Publications.